ปัจจัยเชิงเหตุด้านจิตสังคมและผลด้านความภาคภูมิใจในผลงานวิชาการของการมีพฤติกรรมป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการของบัณฑิตศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร Avoiding Plagiarism Behavior among Graduate Students in the Bangkok Metropolitan Area: Its Psychosocial Antecedents an

Authors

  • วิศรุจน์ (wissarut) เมืองปลื้ม (muangpluem)
  • วิชุดา (Wichuda) กิจธรธรรม (Kijtorntham)

Keywords:

Plagiarism, Avoid Plagiarism Behavior, Academic paper

Abstract

This research aimed to study the the psychological antecedents in the avoidance of plagiarism among graduate students in the Bangkok metropolitan area, which had various biosocial aspects, as well as to study the power of the prediction of psychological variables
(Future time orientation, Moral reasoning, Positive attitude and Self-efficacy) and social variables (Model of Society, Social support and  Time Pressure) which work together in order to avoid plagiarism as a whole, individual aspects and important variables used to avoid plagiarism among graduate students in the Bangkok metropolitan area as a whole and on an individual level, and aspects in a biosocial context. The samples in this study were three hundred and sixty graduate students in Bangkok. The data were analyzed Standard Statistic, Enter and Hieratical Multiple Regression Analysis and Pearson Coefficient Correlation. The results from Enter and Hieratical Multiple regression analysis found that overall, all of the seven independent factors predicted plagiarism avoidance behavior at 47.3 % in the total group and predicted at 56.1 – 44.6 % in other groups and the factors of Model of Society and found that the factors of Attitudes, Model of Society and Self-efficacy were important factors to identify and avoid plagiarism among graduate students in the Bangkok metropolitan area. The results from Pearson Coefficient Correlation found that the avoidance plagiarism behavior and consequent pride authentic in academic researches was positively correlate.

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงเหตุด้านจิตสังคม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีชีวสังคมต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรทำนายสำคัญของพฤติกรรมการป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการ และศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรม    การป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการ กับความภาคภูมิใจในผลงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างคือ  นิสิตบัณฑิตศึกษา จำนวน 360 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรลักษณะทางสังคม (การได้รับตัวแบบจากสังคม การได้รับการสนับสนุนจากสังคม และการอยู่ในสถานการณ์กดดันเรื่องเวลา) ตัวแปรลักษณะทางจิตเดิม (ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน และเหตุผลเชิงจริยธรรม) และตัวแปรลักษณะทางจิตตามสถานการณ์ (เจตคติที่ดีต่อการป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการ และการรับรู้ความสามารถของตนในการป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการ) รวม 7 ตัวแปร สามารถร่วมกันทำนายการเกิดพฤติกรรมการป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการ ในกลุ่มรวมได้ร้อยละ 47.3 และในกลุ่มย่อยทำนายได้ระหว่างร้อยละ 56.1 ถึง 44.6 โดยมีตัวแปรเจตคติที่ดีต่อการป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการ     การรับรู้ความสามารถของตนในการป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการ และการได้รับตัวแบบทางสังคม เป็นตัวแปรทำนายที่สำคัญ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า พฤติกรรมการป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความภาคภูมิใจในผลงานวิชาการ

Author Biography

วิชุดา (Wichuda) กิจธรธรรม (Kijtorntham)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลันศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2017-01-30

How to Cite

เมืองปลื้ม (muangpluem) ว. (wissarut), & กิจธรธรรม (Kijtorntham) ว. (Wichuda). (2017). ปัจจัยเชิงเหตุด้านจิตสังคมและผลด้านความภาคภูมิใจในผลงานวิชาการของการมีพฤติกรรมป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการของบัณฑิตศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร Avoiding Plagiarism Behavior among Graduate Students in the Bangkok Metropolitan Area: Its Psychosocial Antecedents an. Journal of Behavioral Science for Development, 9(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/76012