ปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาของครูในโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา Personal and Work Environmental Factors related to Collaborative Behavior in Environmental Learning Process of...

Authors

  • Palida (ปาลิดา) Hemmaphruet(เหมพฤทธิ) BSRI SWU
  • วิชุดา กิจธรธรรม

Keywords:

Collaborative behavior, Eco-School, พฤติกรรมความร่วมมือ, โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา

Abstract

          The purposes of this research were: 1) to study the interaction effect between personal and work environmental factors were related to collaborative behavior in terms of the environmental learning process and 2) to study the predictive power on collaborative behavior in environmental learning process with personal and work environmental factors. The sample was 283 teachers in Eco-schools chosen by Stratified sampling. This research consisted of 1 instrument (8 parts) which was in the form of summated rating scales. The reliability with alpha coefficients was .776 - .919. The data was analyzed by 1) two-way analysis of variance, 2) Hierarchical multiple regression analysis.

            The results showed that: 1) there were interaction between a Buddhist prosocial personality and social support that affected collaborative behavior in the environmental learning process, overall and in some subgroups; 2) In overall, factors predicting collaborative behavior in environmental learning process consisted of socialization from school (first order) and self-efficacy in environmental learning process (second order). These two factors could predicted at 50 %. 

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีพฤติกรรมความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมของครูในโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยที่มีปัจจัยทางชีวสังคมที่แตกต่างกันและ 2) เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของกลุ่มตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล และกลุ่มตัวแปรสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมของครูในโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา จำนวน 283 คน ใช้วิธีแบบสุ่มแบบชนชั้น เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดประเภทมาตรประเมินค่า 6 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ (8 ตอน) โดยผู้วิจัยได้สร้างขึ้นใหม่ตามนิยามปฏิบัติการและนำแบบวัดมาปรับปรุง มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ระหว่าง . 776 - .919 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีลำดับ

          ผลการวิจัยพบว่า 1) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพช่วยเหลือแบบพุทธ และการสนับสนุนทางสังคมในการเปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาในกลุ่มครูที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 39 ปี 2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา ประกอบด้วยจากทั้งสองปัจจัย โดยมีการถ่ายทอดทางสังคมจากโรงเรียนเป็นปัจจัยทำนายลำดับที่ 1 และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยทำนายลำดับที่ 2 โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 50

 

คำสำคัญ: พฤติกรรมความร่วมมือ, โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา

Author Biography

วิชุดา กิจธรธรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Downloads

Published

2017-01-30

How to Cite

Hemmaphruet(เหมพฤทธิ) P. (ปาลิดา), & กิจธรธรรม ว. (2017). ปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาของครูในโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา Personal and Work Environmental Factors related to Collaborative Behavior in Environmental Learning Process of. Journal of Behavioral Science for Development, 9(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/75965