รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมอาสาที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในการทำงานอาสา ของบุคลากรเกษียณอายุ ในมหาวิทยาลัยภาครัฐ
Keywords:
พฤติกรรมอาสา การคงอยู่ในการทำงานอาสา สุขภาวะ ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก วัยเกษียณอายุAbstract
The purpose of this study was to empirically validate the causal relationship model of volunteering behavior affected on retention in volunteer working of the elderly person. The sample consisted of 386 elderly persons who worked in public university, in Bangkok. The sample method was stratified random sampling. The questionnaires were used to collect data, Cronbach’s Alpha Coefficient between 0.90 - 0.94. The data were analyzed by structured equation modeling technique. The result showed that the proposed model fitted with the empirical data ( = 416.16, df= 132,
p= 0.00, /df= 3.15, RMSEA= 0.07, SRMR= 0.08, GFI= 0.90, CFI= 0.98, NFI= 0.97). The result of path analysis showed that 1) Positive psychology had positive and direct effect on well-being
(β = 0.89, p < 0.05), 2) Social support and volunteering motivation had positive and direct effects on volunteering behavior (β = 0.26, 0.30, p < 0.05, respectively), 3) Social support, well-being and volunteering behavior had positive and direct effected on retention in volunteer working (β = 0.14, 0.25, 0.78, p < 0.05 ,respectively), 4) Well-being played a mediating role variable of the indirect effects between positive psychology and retention in volunteer working (β = 0.09, p < 0.05), and 5) Volunteering behavior played a mediating role variable of the indirect effects between social support and retention in volunteer working (β = 0.08, p < 0.05).
Keywords: volunteering behavior, retention in volunteer working, well-being, positive psychology capital, elderly person
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมอาสา ที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในงานอาสาของบุคลากรเกษียณอายุ ในมหาวิทยาลัยภาครัฐ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลอายุตั้งแต่ 60-75 ปี
ที่เคยปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยภาครัฐ เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 386 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.90 ถึง 0.94 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมอาสา ที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในงานอาสา มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ หลังจากการปรับโมเดล ( = 416.16, df= 132, p= 0.00, /df= 3.15, RMSEA= 0.07, SRMR= 0.08, GFI= 0.90, CFI= 0.98, NFI= 0.97) ผลการทดสอบเส้นทางอิทธิพล พบว่า 1) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อสุขภาวะ (β = 0.89, p < 0.05) 2) การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และแรงจูงใจอาสา มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมอาสา (β = 0.26, 0.30, p < 0.05 ตามลำดับ) 3) สุขภาวะ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมอาสา มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการคงอยู่ในการทำงานอาสา (β = 0.14, 0.25, 0.78, p < 0.05 ตามลำดับ) 4) การได้รับการสนับสนุนทางสังคมมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการคงอยู่ในการทำงานอาสา ผ่านพฤติกรรมอาสา (β = 0.09, p < 0.05) และ 5) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการคงอยู่ในการทำงานอาสา ผ่านสุขภาวะ (β = 0.08, p < 0.05)
คำสำคัญ: พฤติกรรมอาสา การคงอยู่ในการทำงานอาสา สุขภาวะ ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก วัยเกษียณอายุ