ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Keywords:
พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ, สื่อสังคมออนไลน์, วิจารณญาณ, บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ, Media- receiving behavior, Social-media, Critical, Big5 personalityAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ เจตคติต่อการรับสื่ออย่างมีวิจารณญาณ การได้รับตัวแบบจากครอบครัว อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ และเพื่อศึกษาความสามารถของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ เจตคติต่อการรับสื่ออย่างมีวิจารณญาณ การได้รับตัวแบบจากครอบครัว และอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนในการทำนายพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 360 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกำหนดโควต้าของประชากร จากนิสิตทั้งหมดจำนวน 18 คณะ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานครั้งนี้ได้แก่ สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลพบว่า 1) บุคลิกภาพด้านความหวั่นไหวทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) บุคลิกภาพด้านการเปิดรับประสบการณ์ บุคลิกภาพด้านความอ่อนโยน บุคลิกภาพด้านความมีจิตสำนึกในหน้าที่ เจตคติต่อการรับสื่ออย่างมีวิจารณญาณ การได้รับตัวแบบจากครอบครัวและอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ3) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ เจตคติต่อการรับสื่ออย่างมีวิจารณญาณ การได้รับ ตัวแบบจากครอบครัวและอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณได้ร้อยละ 56 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
The Factors Related to Critical Social - Media Receiving Behavior
of Srinakharinwirot University’s Freshman Student
There were two purposes of this research. First, it aimed to examine relation among Big5 personality, Attitude toward critical media - receiving, family models and influence of peer affecting to critical social-media receiving behavior. Second, was to predict critical social-media receiving behavior through there factor. The subjects comprised of 360 freshman student in Srinakharinwirot University by Quota Sampling population from 18 faculty. Questionnaires were used as means of data collection. Then data were analyze by Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Enter Multiple Regression Analysis. The results findings 1) Neuroticism had negative correlation to social-media receiving behavior with statistical significance at the .01 level 2) Openness, Agreeableness, Conscientiousness, Attitude toward critical media - receiving , family models and influence of peer had positive correlation to social-media receiving behavior with statistical significance at the .01 level 3) Big5 personality, Attitude toward critical media–receiving, family models and influence of peer together predicted critical social-media receiving behavior that could be predictable 56 of percentage with statistical significance at the .001 level