การสร้างและพัฒนาแบบวัดทุนทางสังคมของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่จากครอบครัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล The Construction and Development of a Social Capital Scale for First Year Undergraduate Students Leaving Home for Studying
Keywords:
ทุนทางสังคม, แบบวัด, นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1Abstract
The purpose of this research was to construct and develop a valid and reliable social capital scale for first year undergraduate students leaving home for studying in universities in Bangkok metropolitan and vicinity. The sample consisted of 892 first year undergraduate students leaving home for studying in universities in Bangkok metropolitan and vicinity by a multi - stage sampling method. Item-total correlation, Cronbach’s alpha coefficient and Confirmatory factor Analysis were employed to analyze the data. The results indicated that SCS which contained 25 items had good psychometric properties in terms of validity and reliability. The item total correlation ranged 0.390 – 0.718. The scale’s (internal consistency) reliability was 0.898. The confirmatory factor analysis results showed that the social capital model was fitted to the empirical data and also the 6-factor model was confirmed. (χ2=483.82, df=269, CFI=0.99, TLI=0.99, RMSEA=0.030)
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบวัดทุนทางสังคมของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่จากครอบครัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเป็นแบบวัดที่มีคุณภาพทั้งด้านความเที่ยงตรงและเชื่อมั่น กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่จากครอบครัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 892 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดทุนทางสังคม จำนวน 25 ข้อ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ละข้อเป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับ จาก (5) จริงที่สุด ถึง (1) ไม่จริงเลย นำข้อมูลมาวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวม สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่าแบบวัดทุนทางสังคมของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่จากครอบครัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีคุณภาพเชื่อถือได้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวม อยู่ระหว่าง 0.390 – 0.718 และมีค่าความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในของแบบวัดทั้งฉบับ คือค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.898 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าแบบจำลองโครงสร้างการวัดองค์ประกอบทุนทางสังคมประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ด้าน สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (χ2=483.82, df=269, CFI=0.99, TLI=0.99, RMSEA=0.030) สรุปผลการศึกษาได้ว่าแบบวัดที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม มีคุณภาพเชื่อถือได้และสอดคล้องกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เป็นแบบวัดในการศึกษาทุนทางสังคมของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่จากครอบครัวเพื่อเข้าศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ต่อไป
คำสำคัญ : ทุนทางสังคม, แบบวัด, นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1