Life Management in Unintended Pregnancy Crisis of Adolescent Girls Living in the East Province (การจัดการชีวิตในภาวะวิกฤตการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของหญิงวัยรุ่น ภายใต้บริบทจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก)

Authors

  • Piyawan Thatsananchalee
  • Narisara Peungposop
  • Thasuk Janprasert

Keywords:

Keywords, life management, crisis, unintended pregnancy, narrative (คำสำคัญ, การจัดการชีวิต ภาวะวิกฤต การตั้งครรภ์ไม่พร้อม หญิงวัยรุ่น การเล่าเรื่อง)

Abstract

The aims of this research were to understand the condition of life management on unintended pregnancy crisis of adolescent girls living in the East province. The research was constructed using narrative method in qualitative research. Five women who had experience in crisis pregnancy life between 10-19 years old were key informants by selected purposive sampling. The Setting was selected from high teenage birth rate in Thailand. The results found that 6 elements which were to condition of situation in life crisis management consisted of 1) evaluated problems 2) quantity of situation related with problem solving methods 3) level of setting boundary 4) interaction with other people 5) communication process and 6) management results. These findings suggested that unintended pregnancy crisis caused many problems, lack of support, and out of control. However, unintended pregnancy crisis was improved by reducing the problems, supporting from others and self-positive communication.    

 

Keywords: life management, crisis, unintended pregnancy, narrative

 

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลเหตุและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในการจัดการชีวิตในภาวะวิกฤตการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของหญิงวัยรุ่น ภายใต้บริบทจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก โดยดำเนินการศึกษาตามแนวคิดการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้กระบวนการศึกษาการเล่าเรื่อง (Narrative Method) เป็นหลักในการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้หญิงที่เคยมีประสบการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในขณะที่อายุระหว่าง 10-19 ปี จำนวน 5 คน โดยพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกที่มีอัตราการคลอดบุตรจากหญิงวัยรุ่นสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ ผลการศึกษาพบว่า มูลเหตุและเงื่อนไขในสถานการณ์ของการจัดการชีวิตในภาวะวิกฤตการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ประกอบด้วย 1) การประเมินปัญหา 2) จำนวนของสถานการณ์กับกลไกการจัดการ 3) ขอบเขตและระดับของพื้นที่ 4) ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 5) กระบวนการสื่อสาร และ 6) ผลสะท้อนกลับจากการจัดการ โดยพบว่าเงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่วิกฤตเกิดจากการประสบปัญหาหลายด้าน ขาดการสนับสนุน และประเมินปัญหาว่าเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ และเงื่อนไขที่นำไปสู่การคลี่คลาย คือการลดปริมาณปัญหาลง โดยการจัดการปัญหาและการช่วยเหลือจากภายนอก รวมถึงการสื่อสารเชิงบวกกับตนเอง 

 

คำสำคัญ: การจัดการชีวิต  ภาวะวิกฤต  การตั้งครรภ์ไม่พร้อม  หญิงวัยรุ่น  การเล่าเรื่อง

Downloads

Published

2016-08-31

How to Cite

Thatsananchalee, P., Peungposop, N., & Janprasert, T. (2016). Life Management in Unintended Pregnancy Crisis of Adolescent Girls Living in the East Province (การจัดการชีวิตในภาวะวิกฤตการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของหญิงวัยรุ่น ภายใต้บริบทจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก). Journal of Behavioral Science for Development, 8(2). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/64910