ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในการป้องกันโรคเบาหวานของบุคลากรโรงพยาบาลเทพธารินทร์ (Psycho-Social Factors Related to Health Promotion Behaviors for Diabetes Prevention of Personnels at Theptarin Hospital )

Authors

  • ยุวดา สิงหเมธา (Yuwada Singhametha)
  • สุภาพร ธนะชานันท์ (Supaporn Tanachanan)
  • อังศินันท์ อินทรกำแหง ungsinun@swu.ac.th

Abstract

The objectives of correlate comparison study were: 1) to compare health promotion behaviors for diabetes prevention of personnels at Theptarin Hospital with differences of situational, psychological traits, and psychological state factors. 2) to study the power of predicting factors of situational, psychological traits, and psychological state factors associated with health promotion behaviors for diabetes prevention of personnels at Theptarin Hospital and study the group factor with the most predicting power 3) to study interaction effect between situational, psychological traits, and psychological state factors on health promotion behaviors for diabetes prevention of personnels at Theptarin Hospital in overall and subgroup levels. The samples of this study were 273 personnels of Theptarin Hospital, The data collection tools were rating scale, 6 level of 7 questionnaires. Descriptive statistics, t-test, Enter Multiple Regression Analysis, and Two-way Analysis of Variance were used for statistics analysis. The research findings were as follows: 1) Personnels at Theptarin Hospital with different situational, psychological traits, and psychological state factors were found to have different health promotion behaviors for diabetes prevention with statistical significance at the .001 level. 2) Socio-demographic characteristics of personnels at Theptarin Hospital: 1) personnels with different age were found to have different health promotion behaviors for diabetes prevention with statistical significance at the .05 level. 3) variance of health promotion behaviors for diabetes prevention. The most predicting power factors were self-efficacy on health promotion behaviors for diabetes prevention. 4) There were no interaction effect between locus of control and policy/project perception and self - control and positive attitude towards health promotion behaviors on health promotion behaviors of personnels on health promotion behaviors for diabetes prevention at Theptarin Hospital in overall and subgroup levels.
Keywords: health Promotion, behaviors for diabetes prevention, self - efficacy, locus of control, self - control.

บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงความสัมพันธ์เปรียบเทียบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคเบาหวานของบุคลากรโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ที่มีปัจจัยแตกต่างกัน ในกลุ่มสถานการณ์ทางสังคมจิตลักษณะเดิม จิตลักษณะตามสถานการณ์ และปัจจัยชีวสังคม 2) ปัจจัยในแต่ละกลุ่มที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคเบาหวานของบุคลากร และศึกษาปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างปัจจัย ที่มีต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคเบาหวานของบุคลากร ในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย เก็บข้อมูลจากบุคลากรในโรงพยาบาลเทพธารินทร์ จำนวน 273 คน ด้วยแบบสอบถามมาตรประเมินรวมค่า 6 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ใช้สถิติพื้นฐานการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเอนเตอร์ (Enter Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรในโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ที่มีปัจจัยกลุ่มสถานการณ์ทางสังคม จิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการณ์แตกต่างกันมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรค เบาหวานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) บุคลากรในโรงพยาบาลเทพธารินทร์ที่มีปัจจัยชีวสังคมแตกต่างกัน มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคเบาหวานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคเบาหวานของบุคลากร มากที่สุดคือ ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกัน
โรคเบาหวาน 4) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเชื่ออำนาจภายในตนกับการรับรู้นโยบาย/โครงการส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลเทพธารินทร์ และระหว่างปัจจัยด้านลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนกับเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคเบาหวานของบุคลากรในโรงพยาบาลเพทธารินทร์ ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย
คำสำคัญ: พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถของตนความเชื่ออำนาจภายในตน ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Yuwada Singhametha) ย. . ส., (Supaporn Tanachanan) ส. . ธ., & ungsinun@swu.ac.th อ. . . อ. (2012). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในการป้องกันโรคเบาหวานของบุคลากรโรงพยาบาลเทพธารินทร์ (Psycho-Social Factors Related to Health Promotion Behaviors for Diabetes Prevention of Personnels at Theptarin Hospital ). Journal of Behavioral Science for Development, 4(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/601