การพัฒนารูปแบบการฝึกภาคสนามของนักศึกษาการจัดการชุมชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Internship Model Development for Community Management Students Faculty of Management Science, Silpakorn University)

Authors

  • ฐิติมา เวชพงศ์ (Thitima Vechpong)
  • ทิพย์สุดา พุฒจร Tipsuda Putjorn
  • อรรถพล วชิรสิโรดม (Attaphol Wachirasirodom)

Abstract

This research’s purpose is to study Internship Model Development for Community Management Student Faculty of Management Science, Silpakorn University, using action research. The target group was 98 of third year students, who had been sent to do internship at Nongsala District, Cha-Am,Phetchburi Province for 2 semesters. The results were as follows. Internship Model included 3 phases as follows: 1) Input Factors, which were used for student understanding by thinking and practicing in the class, such as interview, transcribe techniques, substance analysis, community map making, community behaving, how to write and present project, helpful activities; 2) Developing Processes, which were the cooperation by working with people in community to create practical development plan, were the learning patterns including Learning by doing, Brain Storming, Group Discussion; and 3) Output Factors were information for community development as community database, community map, and the practical Nongsala District development plan; whereas the organized teachers had responsibility for advising theory and practical parts to students, likewise coordinated with studied community.

Keywords:

internship, community management, action research

บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการพัฒนารูปแบบการฝึกภาคสนามของนักศึกษาการจัดการชุมชน
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการชุมชน ชั้นปีที่ 3 จำนวน 98 คน เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในการฝึกภาคสนาม ด้วยการลงพื้นที่ศึกษาชุมชนตำบลหนองศาลา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นระยะเวลา 2 ภาคการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการฝึกภาคสนามประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า เพื่อสร้างความเข้าใจ ด้วยการจัดการเรียนการสอนเน้นให้นักศึกษาคิดและ
ทำอย่างเข้าใจขณะฝึกปฏิบัติในห้องเรียน ได้แก่ เทคนิคการสัมภาษณ์ และการถอดเทป การวิเคราะห์เนื้อหา การทำแผนที่ชุมชน การวางตัวเมื่อเข้าชุมชน การเขียนโครงการและขั้นตอนการเสนอโครงการ และรูปแบบงานต่างๆ ที่ช่วยเหลือชุมชนได้ 2) กระบวนการพัฒนา เพื่อสร้างการเข้าถึง ด้วยการลงไปปฏิบัติจริงในพื้นที่โดยอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรภายในชุมชนเพื่อให้เกิดการสร้างแผนพัฒนาที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบเรียนรู้จากการลงมือกระทำ (Learning by doing) การระดมความคิด (Brain storming) และการอภิปรายในกลุ่ม
(Group discussion) และ 3) ปัจจัยนำออกเพื่อการพัฒนาชุมชน จากข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่ แผนที่ชุมชน และแผนพัฒนาตำบลหนองศาลาที่ใช้กับชุมชนได้จริง โดยอาจารย์ผู้ควบคุมการจัดการเรียนการสอน มีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้คำแนะนำในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแก่นักศึกษา รวมทั้งประสานงานกับพื้นที่ที่ศึกษา
คำสำคัญ: การฝึกภาคสนาม การจัดการชุมชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Thitima Vechpong) ฐ. เ., Tipsuda Putjorn ท. พ., & (Attaphol Wachirasirodom) อ. ว. (2012). การพัฒนารูปแบบการฝึกภาคสนามของนักศึกษาการจัดการชุมชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (Internship Model Development for Community Management Students Faculty of Management Science, Silpakorn University). Journal of Behavioral Science for Development, 4(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/600