อิทธิพลของลักษณะทางจิต ลักษณะสถานการณ์ที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพและ ภาวะโภชนาการของบุคลากรกรมอนามัย กระทรวง(The Affect of Psychological and Situational Characteristics to Health Behaviors and Nutritional Status of Personnel of Health Department, Ministry of Public Health)
Abstract
This study aims at studying factors that affect health behaviors by considering psychological and situational characteristics and factors affecting nutritional status of personnel of the Health Department, the Ministry of Public Health by examining their health behaviors. Data collection instruments were questionnaires distributed to samples were 220 personnel. The collected data were analyzed by the
Enter multiple regression analysis. The results revealed that factor affect health behavior, the significant variable were 1) family support (β=.212), friends support (β=.197), intrinsic motivation (β=.161), attitudes toward health behaviors (β=.154) and self-control (β=.100) 2) factor affecting food condition that only intrinsic motivation (β=.261) 3) factors affecting physical activity, the significant variable were self-control (β=.214), friends support (β=.207) and attitudes toward health behaviors (β=.169) 4) factors affecting stress management, the significant variable were family support (β=.312) and attitudes toward health behaviors (β=.170) 5) health behaviors (β= -.337) were affect to body mass
index 6) when separately considering health behaviors that food consumption (β= -.192) and physical activity (β= -.170) were affect body mass index of the Health Department personnel.
Keywords: health behaviors, nutritional status, psychological characteristic, situational characteristic
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยของลักษณะทางจิตและลักษณะสถานการณ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและรายด้าน และเพื่อศึกษาปัจจัยของพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมและรายด้านที่มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการของบุคลากรกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 220 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติถดถอยพหูคูณแบบนำเข้า (Enter) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม คือ การสนับสนุนจากครอบครัว (β = .212) การสนับสนุนจากเพื่อน (β = .197)แรงจูงใจภายใน (β = .161) เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมสุขภาพ (β = .154) และการควบคุมตนเอง (β = .100) 2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหาร คือ แรงจูงใจภายใน(β = .261) 3) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการมีกิจกรรมทางกาย คือการควบคุมตนเอง (β = .214) การสนับสนุนจากเพื่อน (β = .207) และเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมสุขภาพ (β = .169)4) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความเครียด คือ การสนับสนุนจากครอบครัว (β = .312) และเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมสุขภาพ (β = .170) 5) พฤติกรรมสุขภาพโดยรวม (β = -.337) มีอิทธิพลต่อดัชนีมวลกาย และ 6) พฤติกรรมสุขภาพรายด้านคือ การบริโภคอาหาร(β = -.192) และการมีกิจกรรมทางกาย (β = -.170) มีอิทธิพลต่อดัชนีมวลกายของบุคลากรกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ: พฤติกรรมสุขภาพ ภาวะโภชนาการ ลักษณะทางจิต ลักษณะสถานการณ์