ปัจจัยทางจิตและสังคมที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ ของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Psycho-Social Factors Associated with Entrepreneurial Intention of the Fourth Year Thammasat University Students)

Authors

  • พรทิพย์ ม่วงมี (Pornthip Moungmee)
  • ดุษฎี โยเหลา (Dusadee Yolao)
  • ภิญญาพันธ์ ร่วมชาติ (Pinyapan Roamchart)

Abstract

The objectives of this research were 1) to compare entrepreneurial intention of the fourth year Thammasat University students divided by psycho-social Factors; sex and work experience. 2) to study the interaction between situational, psychological traits, and psychological states on entrepreneurial intention of the fourth year Thammasat University students. 3) to study the correlation between
situational and psychological traits on entrepreneurial intention of the fourth year Thammasat University students. 4) to explore the important predictor of entrepreneurial intention of the fourth year Thammasat University students. The samples were 320 students studying the fourth year at the faculty of accounting and faculty of economics in Thammasat University. Stratified random sampling was used
to select the samples. Data were collected by questionnaire. Frequency, percentage, arithmetic mean and standard deviation were used for descriptive statistics, while One-way Analysis of Variance and T-test, Two-way Analysis of Variance, and Hierarchical Multiple Regression Analysis, were used for
inferential statistics. The research findings were as follows: 1) students who were different in sex had differences in intention of becoming an entrepreneur at 0.05 statistical significant level. Nevertheless,students who were different in work experience had not differences in intention of becoming an entrepreneur at 0.05 statistical significant level, 2) there was no interaction between the ability for career decision-making and conformation to the reference group related to becoming an entrepreneur, 3) there was no interaction between attitude towards intention of becoming an entrepreneur and conformation to the reference group related to becoming an entrepreneur, and 4) situational factor ,i.e.
social support and psychological traits ,i.e. extraversion could predict the intention of becoming an entrepreneur of the fourth year Thammasat University students after controlling conformation to the reference group related to becoming an entrepreneur.
Keywords: entrepreneurial intention, social support, internal motivation, appearance

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มีลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลังของนักศึกษา ได้แก่ เพศ ประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสถานการณ์กับจิตลักษณะเดิมที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของ
นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะตามสถานการณ์จิตลักษณะเดิม และลักษณะสถานการณ์กับความตั้งใจการเป็นผู้ประกอบการ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4) เพื่อค้นหาตัวแปรที่สำคัญในการทำนายความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะเศรษฐศาสตร์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 320 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ทดสอบสมมติฐานในลักษณะของสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน
สองทาง (Two-Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Hierarchical) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ
0.05 ส่วนประสบการณ์ในการทำงานเพื่อหารายได้ด้วยตนเองในระหว่างการศึกษาต่างกันมีความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการตัดสินใจเลือกอาชีพ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการกับความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ 3) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการกับความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการ และ 4) ลักษณะของสถานการณ์ ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม จิตลักษณะเดิม
ได้แก่ บุคลิกภาพด้านการแสดงตัว สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 เมื่อควบคุมตัวแปร การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการคงที่

คำสำคัญ: ความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจภายในบุคลิกภาพ

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Pornthip Moungmee) พ. . . ม., (Dusadee Yolao) ด. . โ., & (Pinyapan Roamchart) ภ. . ร. (2012). ปัจจัยทางจิตและสังคมที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ ของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Psycho-Social Factors Associated with Entrepreneurial Intention of the Fourth Year Thammasat University Students). Journal of Behavioral Science for Development, 4(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/598