ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนที่มีต่อ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก (The Effect of Self-efficacy Program on Self-care Behavior of Hemiparesis Patients)

Authors

  • พรทิพย์พา ธิมายอม (Porntippa Thimayom)
  • วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี (Wiladlak Chuawanlee)
  • ประทีป จินงี่ (Preteep Jinnge)

Abstract

The objectives of this research were to study 1) the effect of self-efficacy program on self-carebehavior, 2) the interaction between the self-efficacy program and family-supportive and 3) correlation between self-efficacy and self-care behavior in hemiparesis patients. The study group comprised 30 hemiparesis patients, who admitted at the in-patients department of Prasat Neurological Institute since September 2010-June 2011 and participated in self-efficacy program with the criterions as age of 20-80 years old, hemiparesis symptom, never treated in the rehabilitation program and not hearing impairment, and 30 hemiparesis patients in control group that had similar criterions to those study group but not participated in self-efficacy program. The instruments were the self-efficacy program, the self-care behavior questionnaire, the family-supportive examination and personal-data also used too. Hypothesis testing were analyzed by two-way ANCOVA and Pearson product moment correlation. Results revealed as following: 1) self-efficacy program and self-care behavior of the study group were
significantly higher than control group (p < .01) 2) No interaction between self-efficacy program and family-supportive of hemiparesis 3) Self-efficacy is correlation with self-care behavior in hemiparesis

Keywords: self-efficacy, self-care, hemiparesis

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของโปรแกรมพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก 2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการได้รับโปรแกรมพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนกับการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อการรับรู้ความสามารถของตนของผู้ป่วย
อัมพาตครึ่งซีกและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนหลังจากที่ได้รับโปรแกรมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในสถาบันประสาทวิทยา ตั้งแต่เดือนกันยายน 2553 ถึงเดือนมิถุนายน 2554 จำนวน 60 คน ช่วงอายุ 20-80 ปี มีอาการอ่อนแรงหรืออัมพาตครึ่งซีกของร่างกาย ไม่เคยรับการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และไม่มีความบกพร่องทางการสื่อสารการมองเห็น การได้ยิน โดยการสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตน แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนในพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง (Two-way ANCOVA) และสห สัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผู้ป่วยที่เข้าร่วมโปรแกรม
การพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนมีการรับรู้ความสามารถของตนสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 2) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนกับการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก 3) การรับรู้ความสามารถของตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
คำสำคัญ: การรับรู้ความสามารถของตน พฤติกรรมการดูแลตนเอง ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซึก 

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Porntippa Thimayom) พ. . ธ., (Wiladlak Chuawanlee) ว. . ช., & (Preteep Jinnge) ป. . จ. (2012). ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนที่มีต่อ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก (The Effect of Self-efficacy Program on Self-care Behavior of Hemiparesis Patients). Journal of Behavioral Science for Development, 4(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/597