การพัฒนารูปแบบกิจกรรมค่ายเพื่อพัฒนาทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา (A Study on the Impact of Activities for Enhancing Creative Thinking in Young Children )
Abstract
The purposes of this action research were to develop a model of summer camp activities that enhances creative thinking skills integrated across four subjects and to compare pre-post scores on creative thinking skills. Participants of the study were 65 of preschoolers and elementary students. The evaluation of the model’s effectiveness and satisfaction, and the Test for Creative Thinking - Drawing Production (TCT-DP) were used as instruments of the study. The t-test for Independent was used to analyze the data derived from the pre-post tests. Results of the study revealed that the program was highly effective and could be a model in training thinking skills. Significant changes in many participants were found in the descriptive reports derived from observations of their extrinsic expressions. The scores from pre-post test on creative thinking of both groups were not significant. However, results for preschoolers showed significant improvement at 0.01on the following components: Continuations (Cn), New Elements (Ne), and Speed (Sp).
Keywords: creative thinking, thinking skills, activities
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่บูรณาการกับสาระการเรียนรู้ และศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมค่ายพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กระดับปฐมวัยและประถมศึกษา รวม 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมค่ายที่บูรณาการกับสาระการเรียนรู้ 4 วิชา แบบทดสอบ TCT-DP และแบบประเมินพฤติกรรมสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติ แบบทดสอบที (t-test for dependent) ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมสร้างสรรค์ ด้วยการใช้วิธีอธิบายเชิงคุณภาพ (Qualitative-descriptive report) และผลงานของกลุ่มตัวอย่าง มาสรุป วิเคราะห์ วิพากษ์ (Focus group discussion) โดยคณะผู้ดำเนินงาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมมีประสิทธิภาพสูง และสามารถนำไปใช้ขยายผลได้โดยวิเคราะห์ผลจากการสังเกตเชิงลึก รายงานเชิงคุณภาพ และการประเมินผลงานของเด็ก พบว่าพฤติกรรมสร้างสรรค์ของเด็กโดยรวมมีความเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ผลคะแนนจากแบบทดสอบผลทางความคิดสร้างสรรค์ (TCT-DP) ทั้งกลุ่มเด็กเล็ก (4-6 ปี) และกลุ่มเด็กโต (7-10 ปี) ที่พบว่า ความคิดสร้างสรรค์โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาจากการวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าความคิดสร้างสรรค์ ด้านต่อเติม การสร้างขึ้นใหม่ และความเร็วในการวาดภาพ ของกลุ่มเด็กเล็ก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
คำสำคัญ: ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดระดับสูง กิจกรรมค่ายเยาวชน