ลักษณะทางจิตและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรม ของพนักงานโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง The Relationships among Social Situations and Psychological Immunity

Authors

  • ปริญญา ป้องรอด (Pharinya Phoungrod)
  • วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี (Wiladlak Chuawanlee)
  • สุภาพร ธนะชานันท์ (Supaporn Tanachanan)

Abstract

The objectives of this research were: 1) to study with variable groups, situational, psychological trait,and psychological state could most explain the variance of ethical work behavior among personnels at Thailand Tobacco Monopoly, The Ministry of Finance. 2) to study the interaction effects between
situational and psychological trait variable on ethical work behavior and 3) to compare the ethical work behavior between personnels whose received different try per of payment, and including personnel with different demographic background. Three hounded and thirty personnels at Thailand Tobacco Monopoly were randomly selected by using quota sampling and simple random sampling techniques.
Eleven questionnaires were used as a data collection instruments. Frequency, percentage, arithmetic
mean and standard deviation were used for descriptive statistics, while t-test, ANOVA, Pearson correlation and multiple regressions were used for inferential statistics. The research findings were as follows: 1) The psychological trait variable could most explain (57%) of the variance of ethical work behavior compared to the psychological state factors most and situational factors. These psychological
trait Achievement motivation is the most powerful predicts. 2) There were interaction effects between the psychological trail, achievement motivation, and situation variable, social support from superordinate. That was, the personnels who received more social support and having higher achievement motivation expressed more ethical work behavior compared to the personnels who received lesser support and having lower achievement motivation. These findings were found at
significance level .05 in the total group, the younger group (age ≤41.8), the lesser work experience group (≤15.6 years), the common level 4-6 with monthly payment group and the common level 1-5 with per hour payment group. 3) The personnels receiving different try of payment in the younger
group showed different ethical work behavior at significance level .05. In the younger group, the personnels with monthly payment expressed higher ethical work behavior than the personnels with per hour payment.
Keywords: ethical, work behavior, achievement motivation, social support

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาว่ามีตัวแปรกลุ่มลักษณะทางสังคม กลุ่มลักษณะทางจิตเดิม และตัวแปร กลุ่มลักษณะทางจิตตามสถานการณ์ที่มีอำนาจในการอธิบายพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรม 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรในกลุ่มลักษณะทางสังคม กับกลุ่มลักษณะทางจิตเดิม ต่อพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรม และ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรม ระหว่างพนักงานรายเดือนและพนักงานรายชั่วโมง ที่มีลักษณะทาง ชีวสังคมต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง เป็นพนักงานโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ในส่วนกลาง จำนวน 336 คน ซึ่งได้มาจาก กำหนดโควตาและวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติ t วิเคราะห์ ความแปรปรวน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรกลุ่มลักษณะทางจิตเดิมอธิบายพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมได้สูงสุด ร้อยละ 57 โดยมีตัวแปรแรงจูง
ใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน เจตคติต่อการทำงานอย่างมีจริยธรรม สถานการณ์ยั่วยุในการทำงาน และการสนับสนุนทางสังคมจากหัวหน้างาน เป็นตัวทำนายที่สำคัญ 2) พนักงานที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากหัวหน้างาน ถ้ามีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มาก จะเป็นผู้มีพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมมากกว่าผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานน้อยและมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์น้อย และพบผลในกลุ่มรวม ในกลุ่มที่มีอายุน้อย กลุ่มที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อย และกลุ่มพนักงานรายเดือนที่มีระดับ (ซี) 4–6 และพนักงานรายชั่วโมงที่มีระดับ (ซี) 1-5 (p< .05) 3) พนักงานที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มาก เป็นผู้มีพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมมากกว่าผู้ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์น้อย พบในกลุ่มรวมและทุกกลุ่มย่อย และพนักงานที่เห็นแบบอย่างที่ดีจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานมาก เป็นผู้มีพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมมากกว่าผู้ที่เห็นแบบอย่างที่ดีจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานน้อย พบทั้งในกลุ่มรวมและในทุกกลุ่มย่อย 4) พนักงานที่รับรู้สถานการณ์ยั่วยุน้อย เป็นผู้มีพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมมากกว่าผู้ที่มีรับรู้สถานการณ์ยั่วยุมาก และพนักงานที่มีเหตุผลเชิงจริยธรรมมาก เป็นผู้มีพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมมากกว่าผู้ที่มีเหตุผลเชิงจริยธรรมน้อย 5) พนักงานโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ประเภทรายเดือน (x = 4.84) กับพนักงานรายชั่วโมง (x = 4.56) ในกลุ่มอายุน้อย มีพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรมแตกต่างกัน (p< .05)

คำสำคัญ: พฤติกรรมการทำงาน จริยธรรม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การสนับสนุนทางสังคม

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Pharinya Phoungrod) ป. . ป., (Wiladlak Chuawanlee) ว. . . ช., & (Supaporn Tanachanan) ส. . ธ. (2012). ลักษณะทางจิตและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานอย่างมีจริยธรรม ของพนักงานโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง The Relationships among Social Situations and Psychological Immunity. Journal of Behavioral Science for Development, 4(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/593