ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านสถานการณ์ทางสังคม และการมีภูมิคุ้มกันทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน ที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย

Authors

  • วันวิสา สรีระศาสตร์ (Wanvisa Sareerasart)
  • งามตา วนินทานนท์ (Ngamta Vanindananda)
  • นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล (NumChai Suppareakchaisakul )

Abstract

The Relationships among Social Situations and Psychological Immunity to Internet Behavior Focusing on Safety and Usefulness of Female Students in High Schools with or without Internet Safety Project


The objective of this study was to examine the relationships of the Internet using behavior for safety and usefulness with social situational factors, psychological traits, and psychological states. A sample of 597 Matayomsuksa 3 and 5 female students from four two of the schools utilized the internet behavior for safety and usefulness program while the other two did not. Based on the Interactionism Model as a conceptual framework. There was a total of 21 variables. The fourteen summated rating - scale type of measures were constructed to collect the data. The reliability of each measure ranged from .52 to .87. Three-Way Analysis of Variance, Hierarchical Multiple Regression and Path Analysis were used to analyze the data. Research findings were as follows. 1) The students who attended in the schools without training program but perceived more benefit of internet behavior for safety and usefulness, showed more internet behavior for usefulness than the opposite ones. This result was obvious among the students in the total sample. Also, it was found that the students attending in the schools with training program and perceived more benefit of internet behavior for safety and usefulness, revealed more internet behaviors for usefulness than the counter – parts. This finding was obvious among the students in the total sample and especially 3 types of subsamples namely, students in
Matayom 3 level, having lower grade point average and having lower educational level mothers. 2) The students with the more parents’ control of internet use and with the high psychological immunity had more internet using behavior for safety than their counterparts. This result was evident among the students from the schools with the internet using behavior program, the students with a low GPA, or the students with moderate time spent on the internet. 3) The students with the more perception of the benefits from school internet behavior program and with many good peer models for internet use had more peer supportive behavior on safety and usefulness than their counterparts. This finding was
prominent among the students from high economic status families. 4) Eleven variables were found to be predictive of all three types of the internet using behavior both in the total sample and in the various subsamples. 4.1) Internet using behavior for usefulness, the variables could account for 26.7 to 39.0%. 4.2) Internet using for safety, the variables could account for 38.2 to 50.6%. 4.3) Peer supportive behavior on safety and useful internet use, the variables could account for 37.9 to 51.2%. The important predictors were the favorable attitude towards the internet using behavior for safety and
usefulness, the parents’ control of internet use, future orientation and self-control, psychological immunity, the perception of benefits from the school’s internet training, correspondently. 5) Favorable attitude towards the internet behavior for safety and usefulness directly influenced the internet behavior for usefulness and the peer supportive behavior for safety and usefulness more than other variables.
Furthermore, future orientation and self-control directly influenced the safe use of internet more than other variables.

Keywords: internet behavior for safety and usefulness, psychological immunity,future orientation and self - control, parents’ control of internet use

บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านสถานการณ์ในโรงเรียนและครอบครัว จิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5 รวม 597 คน จากโรงเรียนที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ต อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย กลุ่มละ 2 โรง ใช้รูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยมเพื่อกำหนดตัวแปรเชิงสาเหตุ และใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง การถดถอยพหุคูณแบบมีลำดับและวิเคราะห์อิทธิพลเชิงเส้น ผลวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่มีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้มาก พบในกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ และมีการรับรู้ประโยชน์ฯมาก 2) พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยมากพบในกลุ่มนักเรียนที่มีผู้ปกครองควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตมากและมีภูมิคุ้มกันทางจิตสูง ซึ่งเป็นนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีผลการเรียนต่ำ และมีเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตปานกลาง 3) นักเรียนที่มีพฤติกรรมสนับสนุนให้เพื่อนใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยมาก คือ นักเรียนที่มีการรับรู้ประโยชน์จากการฝึกอบรมการใช้อินเทอร์เน็ตในโรงเรียนมาก และมีเพื่อนเป็นแบบอย่างที่ดีซึ่งพบเด่นชัดในกลุ่มนักเรียนที่ครอบครัวมีระดับเศรษฐกิจสูง 4) พบปัจจัยทั้ง11 ตัวที่สามารถทำนายพฤติกรรมการใช้อิน
เทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยรายด้านทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยดังนี้ 4.1) ทำนายพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ ได้ระหว่างร้อยละ 26.7 ถึง 39.0 ในกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนที่ไม่เข้าโครงการฯ 4.2) ทำนายพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ได้ระหว่างร้อยละ 38.2 ถึง 50.0 และ 4.3) ทำนายพฤติกรรมสนับสนุนให้เพื่อนใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ได้ระหว่างร้อยละ 37.9 ถึง 51.2 และพบตัวทำนายที่สำคัญของพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยทั้ง 3 ด้าน คือ เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย การควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตจากผู้ปกครอง ลักษณะมุ่งอนาคตและการควบคุมตนการมีภูมคุ้มกันทางจิต และการรับรู้ประโยชน์จากการฝึกอบรมการใช้อินเทอร์เน็ตในโรงเรียน ตามลำดับจากมากไปน้อย 5) เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ และพฤติกรรมสนับสนุนให้เพื่อนใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยมากกว่า
ตัวแปรเชิงเหตุอื่น และลักษณะมุ่งอนาคตและการควบคุมตน มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยมากกว่าตัวแปรเชิงเหตุอื่น

คำสำคัญ: พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย การมีภูมิคุ้มกันทางจิต ลักษณะมุ่งอนาคต
และการควบคุมตน การควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตจากผู้ปกครอง

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Wanvisa Sareerasart) ว. . ส., (Ngamta Vanindananda) ง. ว., & (NumChai Suppareakchaisakul ) น. ศ. (2012). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านสถานการณ์ทางสังคม และการมีภูมิคุ้มกันทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน ที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย. Journal of Behavioral Science for Development, 4(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/592