ผลกระทบของคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Effects of Learning Organizational Characteristics on Human Resource Management Efficiency of Small and Medium-Sized Enterprises ... )

Authors

  • วันเพ็ญ อมรสิน (Wanphen Amornsin)
  • ปพฤกษ์ อุตสาหะวาณิชกิจ (Papruek Utsahawanich

Abstract

Small and medium-sized enterprises (SMEs) have a significant role in Thai economy. According to the globalization nowadays, Thai’s SMEs encounter with the intensive competition in the global markets. To develop a business to be a learning organization is one of strategies for surviving. Thus, the researcher conducted a study of effects of learning organizational characteristics on human resource management efficiency of Small and Medium-Sized Enterprises by using a questionnaire as an instrument for collecting data from 153 entrepreneurs of SMEs in the Northeast of Thailand. The statistics used for analyses the collected data were F-test (ANOVA and MANOVA), multiple correlation analysis, and multiple regression analysis.

The findings revealed that SMEs entrepreneurs agreed with having learning organization both as a whole and in each of all these aspects at a high level: systematic problem solving, experimentation with new approaches, learning form their own experiences and past history, learning from the experiences and best practices of others and transferring knowledge quickly and efficiently. The respondents also agreed with having human resource management efficiency both as a whole and in each of all these aspects at a high level: congruence with business strategy, effectiveness orientation, cost competitiveness, administration liquidity, timeliness and professional services.

The SMEs entrepreneurs with different registered agreed differently with having efficiency of human resources management as a whole, learning organizational characteristics as a whole, and in the following aspects: systematic problem solving, experimentation with new approaches, learning from their own experiences and past history, learning from the experiences and best practices of others, and transferring knowledge quickly and efficiently. The SMEs entrepreneurs with different operational timing agreed differently with having learning organizational characteristics in the aspect to transferring knowledge quickly and efficiently. Also, the SMEs entrepreneurs with different yearly incomes agreed differently with having learning organizational characteristics in the aspect to systematic problem solving (p>0.05).

According to analyses of the data in terms of relationships and effects, the following were found: 1) the learning organizational characteristics in terms of systematic problem solving, learning from their own experiences and past history, learning from the experiences and best practices of others, and transferring knowledge quickly and efficiently had effects on and positive relationship with the human resource management as a whole and in terms of congruence with business strategy, effectiveness orientation, cost competitiveness, administration liquidity, times line, and professional services, 2) human resource management efficiency in terms of congruence with business strategy effectiveness orientation, cost competitiveness, administration liquidity, times line, and professional services had effects on and positive relationships with the learning organization systematic problem solving, learning from their own experiences and past history, learning from the experiences and best practices of others, transferring knowledge quickly and efficiently.

In conclusion, learning organizational characteristics had effects on and positive relationships with the human resource management efficiency. The results of this study could be applied to develop and promote learning organizational characteristics of the SMEs and lead to effective human resource management skills, organization development, and competition advantage. It also could be used in enhancing effectiveness and productivity of SMEs and other types of business as a guideline for operational development in the future.

 

บทคัดย่อ

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium-Sized Enterprises: SMEs) มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างมาก ปัจจุบันกำลังอยู่ในสภาวะของการแข่งขันที่รุนแรงจากกระแสโลกาภิวัตน์ การพัฒนาธุรกิจให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งเพื่อความอยู่รอด ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาผลกระทบของคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 153 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ F-test การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ด้านการทดลองใช้วิธีการใหม่ๆ ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนและเรื่องในอดีต ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์และวิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่น และด้านการถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจด้านการมุ่งเน้นประสิทธิผล ด้านศักยภาพการแข่งขันทางด้านต้นทุน ด้านความคล่องตัวในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้านการให้บริการที่รวดเร็ว และด้านความเป็นมืออาชีพ ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวม คุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ได้แก่ ด้านการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ด้านการทดลองใช้วิธีการใหม่ๆ ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนและเรื่องในอดีต ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์และวิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่น ด้านการถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่มีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านการถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน และผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่มีรายได้ต่อปีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นด้วยเกี่ยวกับการมีคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านการแก้ปัญหาอย่างมีระบบแตกต่างกัน (p>0.05)

จากการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า 1) คุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ด้านการเรียนรุ้จากประสบการณ์ของตนและเรื่องในอดีต ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์และวิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่น และด้านการถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการมีประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ ด้านการมุ่งเน้นประสิทธิผลด้านศักยภาพการแข่งขันทางด้านต้นทุน ด้านความคล่องตัวในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้านการให้บริการที่รวดเร็ว และด้านความเป็นมืออาชีพ และ 2) ประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ ด้านการมุ่งเน้นประสิทธิผล ด้านศักยภาพการแข่งขันทางด้านต้นทุน ด้านความคล่องตัวในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้านการให้บริการที่รวดเร็ว และด้านความเป็นมืออาชีพ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนและเรื่องในอดีต ด้านการเรียนรู้จากประสบการณ์และวิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่น ด้านการถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

โดยสรุป คุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรุ้ มีความสัมพันธ์และผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อก่อให้เกิดทักษะการมีประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์และสามารถพัฒนาองค์กร สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมสนับสนุนการติดสินใจในการดำเนินงาน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้แก่กลุ่มธุรกิจ SMEs หรือกลุ่มธุรกิจอื่น ที่สนใจนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานของธุรกิจในอนาคตต่อไป

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Wanphen Amornsin) ว. อ., & (Papruek Utsahawanich ป. อ. (2012). ผลกระทบของคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Effects of Learning Organizational Characteristics on Human Resource Management Efficiency of Small and Medium-Sized Enterprises . ). Journal of Behavioral Science for Development, 1(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/573