ปัจจัยที่สัมพันธ์กับจิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Authors

  • วิทยพัฒนท สีหา (Witthayapatthanot Seehaa)
  • สมบัติ ท้ายเรือคำ (Sombat Tayraukham)
  • จินดารัตน์ ปีมณี (Jindarat Peemanee)

Abstract

Public mind is a moral of good people, which is developed based on their knowledge, social experience, training and interacting with family of society. The purposes of this study were to examine the factors related to public mind of Mahasarakham University students and to construct a predictive equation of public mind of Mahasarakham University students. The sample consisted of 1,068 undergraduate students at Mahasarakham University which enrolled in the second semester of the academic year 2007, selected by the multi-stage random sampling technique. The instruments of the study were on questionnaires public mind with discriminating powers ranging .27 - .57 and a reliability of .85, self-esteem with discriminating powers ranging .33 - .66 and a reliability of .86, self-concept with discriminating powers ranging .30 - .65 and a reliability of .85, family value with discriminating powers ranging .33 - .60 and a reliability of .83, socialization with discriminating powers ranging .35 - .63 and a reliability of .85, moral reasoning with discriminating powers ranging .26 - .46 and a reliability of.59. The data were analyzed by the use of an multiple regression.

The results of the study were as follows:

1. The students’ public mind and self-esteem (X1), self-concept (X2), family value (X3), socialization (X4), moral reasoning (X5), which were positively related at the .01 level of significance.

2. The factors could predict the students’ public mind, included: moral reasoning (X5), self-concept (X2), family value (X3) respectively. These factors had a correlation coefficient of .302 at the .01 level of significance with a predictive power at 8.50 percent.

 

บทคัดย่อ

จิตสาธารณะเป็นคุณธรรมของพลเมืองดี เป็นคุณธรรมที่พัฒนามาจากความรู้ ความคิดประสบการณ์ทางสังคม การอบรมสั่งสอน และการมีปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัวหรือสังคม ซึ่งจะทำให้เกิดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน และการปฏิบัติตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับจิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรี และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์จิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคปกติ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 1,068 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage random Sampling) เครื่องมือมี 6 ฉบับคือ 1) แบบวัดจิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรี ลักษณะเป็นแบบเลือกตอบตามสถานการณ์มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .27 ถึง .57 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 2) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .33 ถึง .66 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 3) แบบวัดอัตมโนทัศน์ ลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .30 ถึง .65 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 4) แบบวัดค่านิยมบุคคลทางครอบครัว ลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .33 ถึง .60 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 5) แบบวัดการขัดเกลาทางสังคม ลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .35 ถึง .63 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 6) แบบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม ลักษณะเป็นแบบเลือกตอบตามสถานการณ์ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .26 ถึง .46 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .59 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) จิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรีสัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเอง อัตมโนทัศน์ ค่านิยมบุคคลทางครอบครัว การขัดเกลาทางสังคม และเหตุผลเชิงจริยธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์จิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรี คือ เหตุผลเชิงจริยธรรม (X5) อัตมโนทัศน์ (X2) ค่านิยมบุคคลทางครอบครัว (X3) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .302 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีอำนาจจำแนกในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 8.80

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Witthayapatthanot Seehaa) ว. ส., (Sombat Tayraukham) ส. ท., & (Jindarat Peemanee) จ. ป. (2012). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับจิตสาธารณะของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Journal of Behavioral Science for Development, 1(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/571