ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ (The Causal Factors Influencing Mathematics Learning Achievement of Matthayomsueksa 3 Students ... )
Abstract
This study aimed to examine causal factors influencing mathematics learning achievement of Matthayomsueksa 3 (grade 9) students in the Si Sa Ket municipal area. The method of conducting this study had 2 stages. First stage determined the model learning outcomes as a hypothesis model obtained from studying concepts and theories and results of the research involved. Second stage tested the validity of the model according to the hypotheses and improved it to be a complete model. The sample consisted of 566 Matthayomsueksa 3 students in Si Sa Ket municipal area, Changwat Si Sa Ket in the second semester of the academic year 2007. Using the multi-stage random sampling technique. There were these 10 independent variables: prior knowledge, scholastic aptitude, attitude toward mathematics learning, achievement motivation self-concept, intention to learn, parents’ attention on, home environment, teaching quality, and time spent on additional study. There was one dependent variable: mathematics learning achievement. The types of the instruments used for collecting data were 3 tests, 7 scales 1 survey form. The collected data were analyzed by the uses of correlation analysis, multiple correlation analysis and path analysis.
The variable with influence in the form of director cause on mathematics learning achievement was teaching quality, time spent on addition study and prior knowledge. The variable with influence in the form of direct and indirect causes attitude toward mathematics learning and scholastic aptitude. The variable with influence in the form of indirect causes achievement motivation, self-concept, intention to learning, parents attention and home environment. In conclusion, the important causal factors and the 5 variables with most influences on mathematics learning achievement included: time spent on additional study and prior knowledge. Attitude toward mathematics learning scholastic aptitude and teaching quality. Therefore, mathematics teachers should give more importance to the factors mentioned.
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตเทศบาลเมืองศรีษะเกษ มีวิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าเป็นสองขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรก กำหนดรูปแบบของผลการเรียนเป็นรูปแบบสมมติฐาน ได้มาจากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่สอง ทดสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบตามสมมติฐาน และปรับปรุงให้เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทดสอบความเที่ยงตรงของรูปแบบเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2550 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 566 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ตัวแปรอิสระมีจำนวน 10 ตัว ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม ความถนัดทางการเรียน เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มโนภาพแห่งตน ความตั้งใจเรียน ความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง สภาพแวดล้อมทางบ้าน คุณภาพการสอน และเวลาที่ใช้ศึกษาเพิ่มเติม ตัวแปรตามมี 1 ตัว คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ใสการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ประเภท คือ แบบทดสอบ 3 ฉบับ แบบวัด 7 ฉบับ และแบบสำรวจ 1 ฉบับ การวิเคราะห์สาเหตุ (Path Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพลในรูปที่เป็นสาเหตุโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ เวลาที่ใช้ศึกษาเพิ่มเติม และคุณภาพการสอน ตัวแปรที่มีอิทธิพลในรูปที่เป็นสาเหตุโดยตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม ความถนัดทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ตัวแปรที่มีอิทธิพลในรูปที่เป็นสาเหตุโดยทางอ้อมอย่างเดียวต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ได้แก่ มโนภาพแห่งตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง ความตั้งใจเรียน และสภาพแวดล้อมทางบ้าน
โดยสรุป ปัจจัยเชิงสาเหตุที่สำคัญที่สุด และมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เวลาที่ใช้ศึกษาเพิ่มเติม ความรู้พื้นฐานเดิม เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความถนัดทางการเรียนและคุณภาพการสอน