ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี ใน 4 สถาบันการศึกษา (Emotional Quotient of Fourth-year Students in Producing Five-year Teacher Program according to Bachelor’s Degree 5 Year Curriculum ... )

Authors

  • บุญรอด โชติวชิรา (Boonrod Chotiwachira)

Abstract

The researcher was aimed to study emotional quotient of fourth-year students in producing five-year teacher program according to bachelor’s degree 5 year curriculum of 4 educational institutions and compare emotional quotient among these students. The following independent variables were: educational institute, sex, major fields of study, and grade point average. The samples of this study were 162 fourth-year students who studied in producing five year teacher program according to bachelor’s degree 5 curriculum of 4 educational institutions in second semester, academic year 2007. The instrument was an emotional quotient questionnaire which was developed by Department of Mental Health, Ministry of Public Health: goodness, intelligence, happiness. The data were statistically analyzed to find out percentage, mean, and standard deviations.

The results of the study revealed that:

(1) Most of the fourth-year students from educational institutes maintained normal level of emotional quotient; especially, they were focusing on goodness at high level. (2) In overall, there were no statistically significant difference of emotional quotient as perceived by the fourth-year students who were from different institutions. (3) As perceived by male and female students, there were no statistically significant difference of emotional quotient, except the goodness of emotional quotient. The control emotional quotient were statistically significant difference at the .05 level. (4) As perceived by students who were from different study programs, there were no statistically significant difference of emotional quotient. (5) As perceived by students with different grade point averages, there were no statistically significant difference of emotional quotient.

 

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี ใน 4 สถาบันการศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์โดยภาพรวมและรายด้านของนักศึกษาที่จำแนกตามตัวแปรด้านสถาบันการศึกษา เพศ สาขาวิชา และระดับผลการเรียนของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี ใน 4 สถาบันการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ที่แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลการวิจัยได้ 5 ข้อ ดังนี้

(1) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทั้ง 4 สถาบันการศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับปกติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีอยู่ในระดับสูง (2) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน (3) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เพศชายและเพศหญิงทั้ง 4 สถาบันการศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีในส่วนของการควบคุมอารมณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทั้ง 4 สถาบันการศึกษาที่ศึกษาอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน (5) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทั้ง 4 สถาบันการศึกษาที่มีระดับผลการเรียนต่างกัน มีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Boonrod Chotiwachira) บ. โ. (2012). ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี ใน 4 สถาบันการศึกษา (Emotional Quotient of Fourth-year Students in Producing Five-year Teacher Program according to Bachelor’s Degree 5 Year Curriculum . ). Journal of Behavioral Science for Development, 1(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/569