การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมบริโภคนิยมและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตระดับปริญญาตรี

Authors

  • มัทธราวัลย์ วรหาญ (Mattharawan Woraharn)
  • สมบัติ ท้ายเรือคำ (Sombat Tayraukham)
  • รังสรรค์ โฉมยา (Rangsan Chomya)

Abstract

The crucial factors which make consumerism behavior play an important role in undergraduate students’ daily life vary and critical thinking factors which make students keep up with a changing society enable them to lead their lives in a society happily. The study aims to study some factors which relate to consumerism behavior and critical thinking of the undergraduate students. The sample population consisted of 1,431 Mahasarakham undergraduate students in the first semester of scholastic year 2008, selected by the multi-stage random sampling technique. Research tools included a consumerism behavior evaluation scale, a critical thinking scale, a self-esteem evaluation scale, a parent’s child rearing scale, and a personality evaluation scale. Item discrimination powers ranged from .24 to .74 and values of reliability were between .59 and .90. Statistics employed for data analyses included percentage, mean standard deviation, t-test, F-test and stepwise multiple regression analysis.

The results were as follows:

1.  All predictors positively related to consumerism behavior of undergraduate students at a significance level of .01. The predictor which the most related to consumerism behavior of undergraduate students was personality (X3) with a correlation coefficient value of .282 and the predictor which the least related to consumerism behavior of undergraduate students was self-esteem (X1) with a correlation coefficient value of .170 at a significance level of .01. Variables as good predictors which could predict consumerism behavior of undergraduate students were personality (X3), parent’s child rearing (X2), and self-esteem (X1) which were with a correlation coefficient value of .316, at a significance level of .01, and coefficient of determination level of 10 percent which could be used to develop a predicting formula in terms of raw and standard scores as the following respectively.

Y1 =    14.762  +  .329 X3 +  .120 X2 +  .154 X1

Y’1 =    .212 Z X3 +  .108 Z X2 +  .096 Z X1

2. The predictor which the most related to critical thinking of undergraduate students was parent’s rearing child (X2) with a correlation coefficient value of .189 and the predictor which the least related to critical thinking of undergraduate students was personality (X3) with a correlation coefficient value of .048, at a significance level of .01 and .05. Variables as good predictors which could predict critical thinking of undergraduate students included parent’s child rearing (X2) and self-esteem (X1) which were with a correlation coefficient value of .249, at a significance level of .01, and with coefficient of determination level of 6.20 percent which could be used to develop a predicting formula in terms of raw and standard scores as the following respectively.

Y2 =    16.206  +  .0073 X2 +  .0078 X1

Y’2 =    -.225 Z X2 +  .167 Z X1

In conclusion, the factors which related to consumerism behavior of undergraduate students were personality, parent’s child rearing, and self-esteem. The factors relating to critical thinking of undergraduate students included parent’s child rearing and self-esteem. Therefore, parents and the persons concerned should put the importance to build an appropriate value for students as well as to make a plan for guidance in order to improve students’ quality of life to keep up with a current changing society.

 

บทคัดย่อ

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของนิสิตระดับปริญญาตรีมีอยู่หลายประการ และปัจจัยการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ทำให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ส่งเสริมให้นิสิตสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมบริโภคนิยมและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 1,431 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดพฤติกรรมบริโภคนิยม แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบวัดการเห็นคุณค่าของตนเอง แบบวัดการอบรมเลี้ยงดู และแบบวัดบุคลิกภาพ ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .24 - .74 ค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .59 - .90 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคุณเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ตัวพยากรณ์ทุกตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมบริโภคนิยมของนิสิตระดับปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมบริโภคนิยมของนิสิตระดับปริญญาตรีสูงที่สุด คือ บุคลิกภาพ (X3) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ .282 และต่ำที่สุดคือ การเห็นคุณค่าของตนเอง (X1) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .170 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมบริโภคนิยมของนิสิตระดับปริญญาตรี คือ บุคลิกภาพ (X3) การอบรมเลี้ยงดู (X2) และการเห็นคุณค่าของตนเอง (X1) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .316 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ได้ร้อยละ 10.00 สามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและรูปคะแนนมาตรฐานได้ตามลำดับดังนี้

Y1 =    14.762  +  .329 X3 +  .120 X2 +  .154 X1

Y’1 =    .212 Z X3 +  .108 Z X2 +  .096 Z X1

2. ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตระดับปริญญาตรีสูงที่สุด คือ การอบรมเลี้ยงดู (X2) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .189 และต่ำที่สุดคือ บุคลิกภาพ (X3) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .048 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สามารถพยากรณ์การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตระดับปริญญาตรี คือ การอบรมเลี้ยงดู (X2) และการเห็นคุณค่าของตนเอง (X1) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .249 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ได้ร้อยละ 6.20 สามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและรูปคะแนนมาตรฐานได้ตามลำดับดังนี้

Y2 =    16.206  +  .0073 X2 +  .0078 X1

Y’2 =    -.225 Z X2 +  .167 Z X1

โดยสรุป ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมบริโภคนิยมของนิสิตระดับปริญญาตรี คือ บุคลิกภาพ การอบรมเลี้ยงดู และการเห็นคุณค่าของตนเอง และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ การอบรมเลี้ยงดู และการเห็นคุณค่าของตนเอง ดังนั้น ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการปลูกฝังค่านิยมที่เหมาะสมให้กับนิสิต ตลอดจนวางแผนแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนิสิตให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Mattharawan Woraharn) ม. ว., (Sombat Tayraukham) ส. ท., & (Rangsan Chomya) ร. โ. (2012). การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมบริโภคนิยมและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตระดับปริญญาตรี. Journal of Behavioral Science for Development, 1(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/568