การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความรู้สึกเชิงจำนวน และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ และวิธีการเรียนรู้แบบปกติ

Authors

  • สุภชัย สุริยะกมล (Supachai Suriyakamol)
  • สมบัติ ท้ายเรือคำ (Sombat Tayraukham)
  • ชวลิต ชูกำแพง (Chawalit Chookhampaeng)

Abstract

The provision of mathematics learning activities has to rely on various methods of teaching and be appropriate for students. The cooperative learning activities is an appropriate method of teaching to help the mathematics to be for more efficient. The purposes of this research were: (1) to develop plans for organizing learning activities following the cooperative learning activities by using STAD Technique and the traditional approach according to the efficient criteria of 75/75, (2) to find out the effectiveness index of instructional plans for both learning activities, (3) to compare students analytical thinking, number sense and mathematics learning achievements entitled “Decimals” of Prathomsuksa 5 students between before and after learning based on the cooperative learning activities and by using the traditional approach and (4) to compare analytical thinking, number sense and mathematics learning achievements entitled “Decimals” of Prathomsuksa 5 students between the two groups of the students. The sample used in this study consisted of 48 Prathomsuksa 5 students attending Ban Khampalai School, Mukdaharn Province during the second semester of the academic year 2008, selected through the cluster random sampling technique. The students were divided into an experimental group and a control group, each of 24 students. The experimental group learned by applying cooperative learning activities using STAD Technique while the control group learned by using the traditional approach. The research instruments were: 16 mathematics lesson plans entitled “Decimals”: a 30-item analytical thinking test with difficulties ranging from .23 to .64 discriminating powers ranging from .29 to .86 and a reliability of .86 and a 30-item number sense test with difficulties ranging from .28 to .60 discriminating powers ranging from .24 to .64 and a reliability of .85. The collected data were analyzed by means of percentage, mean and standard deviation, and t-test, Pearson Product-Moment Correlation Coefficient and Hotelling’s T2 were employed for testing hypotheses.

The results of the study were as follows. 1) The developed mathematics instructional plans with the cooperative learning activities using STAD Technique and the traditional approach for Prathomsuksa 5 students indicated an efficiency of 80.39/84.02 and 82.50/76.23 respectively at .01 level of significance. 2) The effectiveness index of the instructional plans with the cooperative learning activities using STAD Technique and were 0.7103 and 0.5535 respectively. 3) The experimental group and the control group students showed gains in analytical thinking, number sense and mathematics learning achievement from before learning at .01 level of significance. 4) The two groups of students did not showed differently on analytical thinking, number sense and mathematics learning achievement.

In conclusion, the cooperative learning activities by using the Student Teams Achievement Division (STAD) Technique is a learner-centered approach, which could develop learning-teaching mathematics efficiently. The mathematics teachers, therefore, should be encouraged and supported to implement it in learning-teaching mathematics at any grade level.

 

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์จำเป็นต้องอาศัยวิธีการในการจัดกิจกรรการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีความเหมาะสมกับผู้เรียน วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ช่วยให้การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของวิธีการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ความรู้สึกเชิงจำนวน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD และนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบปกติ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ความรู้สึกเชิงจำนวนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ กับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านคำป่าหลาย อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 48 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ผู้วิจัยสุ่มกลุ่มทดลองและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 1 ห้อง โดยกลุ่มทดลองเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD จำนวน 24 คน และกลุ่มควบคุมเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .27 ถึง .67 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .84 แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ .23 ถึง .64 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .29 ถึง .86 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .86 และแบบทดสอบวัดความรู้สึกเชิงจำนวน จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ .28 ถึง .60 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .24 ถึง .64 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test  rxy และ Hotelling’s T2

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ทศนิยม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.39/84.02 และ 82.50/76.23 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ทศนิยม มีค่าเท่ากับ .07103 และ 0.5535 ตามลำดับ 3) นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD และนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความรู้สึกเชิงจำนวนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD กับนักเรียนที่เรียนด้วยแผนการเรียนรู้แบบปกติ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความรู้สึกเชิงจำนวน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกัน

โดยสรุป วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD เป็นวิธีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ช่วยพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงควรสนับสนุนให้ครูคณิตศาสตร์นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Supachai Suriyakamol) ส. ส., (Sombat Tayraukham) ส. ท., & (Chawalit Chookhampaeng) ช. ช. (2012). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความรู้สึกเชิงจำนวน และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ และวิธีการเรียนรู้แบบปกติ. Journal of Behavioral Science for Development, 1(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/566