การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ LT การเรียนรู้แบบ KWL และการเรียนรู้แบบ SSCS (Comparisons of Students’ Critical ...)
Abstract
This study aimed to compare of student’s critical thinking ability, mathematics learning achievement and attitude on mathematics learning in topic inequality of Matthayomsueksa 3 students who learned using the Learning Together (LT) Method, Know-Want-Learn (KWL) Learning Method, and the Search-Solve-Create-Share (SSCS) Learning Method. The sample consisted of 114 Matthayomsueksa 3 students from 3 classroom attending Princess Chulabhorn’s College Buriram in the second semester of the academic year 2007, obtained through the cluster random sampling technique. These classrooms were then randomly assigned into 3 experimental groups: one group learned using the LT, the other using the KWL and SSCS learning method. The instruments used in this study were: (1) LT learning plans, KWL learning plans, and SSCS learning plan; (2) critical thinking ability test (3) mathematics achievement test, and (4) mathematics attitude test. The statistics used for analyzing data were percentage, mean, standard deviation, F-test (One-way MANOVA) and discriminant analysis.
The results of the study were found that:
The students who learned using the LT, KWL, and SSCS Learning Methods had different mathematics learning critical thinking ability, different achievement and different attitude at the .01 level of significance.
For the results of discriminant analysis of learning methods of Matthayomsueksa 3 students, it was found that the discriminant equations were at the .01 level of significance with Eigen value of 0.26 and canonical correlation of 0.46. The variables in the discriminant equations could explain the variance of learning methods at 20.79 percent, and they could predict accurately at 50.90 percent. Discriminant equations of learning methods could be written as below.
An equation in the raw-score form:
Y1 = -7.626 - .038CRT - .251ACH + .185ATT
An equation in the standard-score form:
Z Y1 = -.160CRT - 1.299ACH + 1.470ATT
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (CRT) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ACH) และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ (ATT) เรื่องอสมการ ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ LT (Learning Together Method) ร่วมกับการเรียนรู้แบบ KWL (Know-Want-Learn Learning Method) กับนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนรู้แบบ SSCS (Search-Solve-Create-Share Learning Method) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 114 คน จากห้องเรียน 3 ห้อง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แล้วทำการสุ่มห้องเรียนเป็นกลุ่มทดองจำนวน 3 ห้อง ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ LT การเรียนรู้แบบ KWL และการเรียนรู้แบบ SSCS เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการเรียนรู้แบบ LT แผนการเรียนรู้แบบ KWL และแผนการเรียนรู้แบบ SSCS (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ (4) แบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One-way MANOVA) และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ LT การเรียนรู้แบบ KWL และการเรียนรู้แบบ SSCS มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (CRT) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ACH) และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ (ATT) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ผลการจำแนกกลุ่มวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า สมการจำแนกกลุ่มมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าไอเกน (Eigenvalues) เท่ากับ 0.26 มีค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล เท่ากับ 0.46 ตัวแปรในสมการจำแนกกลุ่มทั้ง 3 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนของวิธีการเรียนรู้ได้ร้อยละ 20.79 พยากรณ์ได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยร้อยละ 50.90 สามารถเขียนสมการจำแนกกลุ่มวิธีการเรียนรู้ได้ดังนี้
สมการในรูปคะแนนดิบ
Y1 = -7.626 - .038CRT - .251ACH + .185ATT
สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z Y1 = -.160CRT - 1.299ACH + 1.470ATT