ความสัมพันธ์ระหว่างความหวังทางวิชาการ การรับรู้บรรยากาศห้องเรียน และผลการเรียนรู้งานวิจัย (The Relationship between Hope in Academic, Perception of Classroom Climate and Learning Outcome in Research)
Abstract
The current investigation sought to understand the relationship between collegian perception of hope in academic, classroom climate and learning outcome in research. Ninety-eight collegian in field experience: observation and practice in teaching course provided three categories of predictor and criterion measures: 1) the dispositional hope scale contains four pathway items and five agency items, 2) rating scale responses that assessed perception of fifteen items of classroom climate, and 3) six items of two dimension of learning outcome in research. Pearson product moment correlation analyses suggested that for both hope in academic and classroom climate were significantly related to learning outcome in research. Result of regression analyses revealed that two factors of classroom climate were useful in predicting learning outcome in research.
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งสืบค้นคำตอบเพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความหวังทางวิชาการ การรับรู้บรรยากาศห้องเรียน และผลการเรียนรู้งานวิจัยของนิสิต โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตวิชาประสบการณ์วิชาชีพศึกษาศาสตร์: การสังเกตและฝึกปฏิบัติงานครู จำนวนเก้าสิบแปดคน ด้วยการวัดตัวแปรทำนายและตัวแปรเกณฑ์ จากเครื่องมือวิจัยสามชุด ได้แก่ 1) แบบวัดความหวังทางวิชาการ ด้านความคิดแบบเส้นทางสี่ข้อ และด้านความคิดแบบตั้งใจแน่วแน่ห้าข้อ 2) แบบวัดการรับรู้บรรยากาศห้องเรียนชนิดมาตรวัดประมาณค่าห้าระดับจำนวนสิบห้าข้อ และ 3) แบบวัดผลการเรียนรู้งานวิจัยในสองมิติจำนวนหกข้อ ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันพบว่า ทั้งความหวังทางวิชาการและบรรยากาศห้องเรียนมีความสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้งานวิจัยของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการวิเคราะห์การถดถอย พบว่า มีปัจจัยบรรยากาศห้องเรียนสองปัจจัยที่เป็นตัวทำนายผลการเรียนรู้งานวิจัย