สัมพันธภาพ ประสบการณ์ และจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความไว้วางใจในทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (Relationship, Experience and Psychological Factors related to Trust in Physician and Nurse Teams of Operational and ...)

Authors

  • ศุกลรัตน์ อิงชาติเจริญ (Sukolrat Ingchatcharoen)
  • พรรณี บุญประกอบ (Pannee Boonprakob)
  • อังศินันท์ อินทรกำแหง (Ungsinun Intarakamhang)

Abstract

The research was a comparative-correlation study with two objectives: 1) to predict of trust in physician and nurse teams of operational and anesthetic services from variations in groups of the psychological trait (such as mental health), the psychological states (such as the perceived to ability, benevolence, and integrity of physician and nurse teams of operational and anesthetic services), and the social situation (such as the relationship with physician and nurse teams of operational and anesthetic services and the experience about operational and anesthetic services); 2) to find the interaction between the psychological trait and the social situation influencing trust in physician and nurse teams of operational and anesthetic services. The sample consisted of 280 voluntary patients of elective operational and anesthetic services in 2008, aged between 18 – 60 years old, randomized by cluster random sampling. Seven instruments employed data collection were summated rating scales 6 levels, total 69 items, reliability was between .63 - .91. The statistical procedures used for data analysis were 1) descriptive statistic 2) multiple regression analysis and 3) two-way analysis of variance.

There were two major groups of findings.

First, the predictors were the perceived to benevolence of physician and nurse teams of operational and anesthetic service (β = .38), and mental health (β = .38). It was found that 38.70% of variance was able to predict the whole group. And three independent variable groups altogether predicted trust in physician and nurse teams of operational and anesthetic service that more than each independent variable group both in the whole group and eight subgroups.

Second, based on interaction analysis it was found that 1) there were not interaction effect between mental health and the relationship with physician and nurse teams of operational and anesthetic services influencing responsibility to trust in physician and nurse teams of operational and anesthetic services but found that trust in physician and nurse teams of operational and anesthetic services had variance to each variables (mental health and the relationship with physician and nurse teams of operational and anesthetic services) the statistically significant at the .001 level; 2) there were not interaction effect between mental health and the experience about operational and anesthetic services influencing responsibility to trust in physician and nurse teams of operational and anesthetic services but found that trust in physician and nurse teams of operational and anesthetic services had variance to mental health, the statistically significant at the .001 level.

 

บทคัดย่อ

การวิจัยความสัมพันธ์เปรียบเทียบครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาตัวแปรจิตลักษณะเดิม ได้แก่ สุขภาพจิต จิตลักษณะตามสถานการณ์ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึก การรับรู้ความเมตตากรุณาของทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึก และการรับรู้ความซื่อสัตย์ของทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึก และสถานการณ์ทางสังคม ได้แก่ สัมพันธภาพกับทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึก และประสบการณ์เกี่ยวกับการผ่าตัดและระงับความรู้สึก ในการทำนายความไว้วางใจในทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึก 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจิตลักษณะเดิมกับสถานการณ์ทางสังคมที่ส่งผลต่อความไว้วางใจในทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 18 – 60 ปี ที่เข้ารับการผ่าตัดและระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติแบบนัดล่วงหน้า ในปี พ.ศ. 2551 ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย จำนวน 280 คน ดำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม(Cluster ramdom sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบมาตรประเมินรวมค่า 6 หน่วย จำนวน 7 แบบวัด รวม 69 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบวัดแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง .21 ถึง .86 ค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาอยู่ระหว่าง .63 ถึง .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ 1) การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน 2) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และ 3) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง

ผลการวิจัย พบว่า

ประการแรก ตัวทำนายในกลุ่มจิตลักษณะเดิม จิตลักษณะตามสถานการณ์ และสถานการณ์ทางสังคม ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความไว้วางใจในทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 38.70 ในกลุ่มรวม ซึ่งประกอบด้วยตัวทำนายเพียง 2 ตัว คือ การรับรู้ความเมตตากรุณาของทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึก(β = .38) และสุขภาพจิต(β = .38) และมีปริมาณการทำนายมากกว่าตัวแปรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพียงกลุ่มเดียว ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย 8 กลุ่ม

ประการที่สอง จากการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ พบว่า 1) ความไว้วางใจในทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึกแปรปรวนไปตามตัวแปรสุขภาพจิต และสัมพันธภาพกับทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึกทีละตัวแปร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับสัมพันธภาพกับทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึกที่ส่งผลต่อความไว้วางใจในทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึก 2) ความไว้วางใจในทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึกแปรปรวนไปตามสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับประสบการณ์เกี่ยวกับการผ่าตัดและระงับความรู้สึกที่ส่งผลต่อความไว้วางใจในทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึก

Downloads

Published

2012-01-11

How to Cite

(Sukolrat Ingchatcharoen) ศ. อ., (Pannee Boonprakob) พ. บ., & (Ungsinun Intarakamhang) อ. อ. (2012). สัมพันธภาพ ประสบการณ์ และจิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความไว้วางใจในทีมแพทย์และพยาบาลที่ให้การผ่าตัดและระงับความรู้สึกของผู้ป่วยในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ (Relationship, Experience and Psychological Factors related to Trust in Physician and Nurse Teams of Operational and .). Journal of Behavioral Science for Development, 1(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/559