การปรับตัวทางจิตสังคมและลักษณะสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ใหญ่วัยกลางคน (The Psychosocial Adjustments and Situational Conditions as Correlates of the Quality of Life in Midlife Adulthood)

Authors

  • นพมาศ แซ่เสี้ยว (Nopamas Saesiew)
  • งามตา วนินทานนท์ (Ngamta Vanindananda)
  • อรพินทร์ ชูชม (Oraphin Choochom)

Abstract

This correlational-comparative study aimed at investigating major causal factors of each component of quality of life (career, family and social life) and quality of life as a whole in the groups of midlife adults. This research was to study interactions of psychosocial development in Erikson’s theory, and it was to find out the significant predictors and the quantitative prediction of the quality of life predictors and what types of midlife adults that had low quality of life in many areas (who were the risk groups). The samples employed were 645 men and women in midlife adulthood, married with at least one child. The tools employed to measure the variables in the study were 15 summated-rating scales. The quality of each item had been tried out so that the items that had high standard were selected to be used. The reliability of each scale was also evaluated. The  ɑ-coefficient is between 0.75.0.94. Major results of the study were: as the vivid results in this study the quality of life of midlife adults was related to the state of psychosocial development according to Erikson’s theory: ego-identity, intimacy, and generativity. The study found that three psychosocial traits were the important predictors of quality of life in each area (career, family and social life) and as a whole. Therefore Thai teenagers should be helped to develop strong ego-identity so that they were prepared to enter the intimacy stage of psychosocial trait in the early adulthood and adjust themselves for the generativity in midlife.

 

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เปรียบเทียบ (Correlational-Comparative Study) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) มุ่งวิจัยปัจจัยเชิงสาเหตุสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตโดยรวมและแต่ละด้าน (ด้านงาน ครอบครัว และสังคม) ของผู้ใหญ่วัยกลางคน (2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ของพัฒนาการทางจิตสังคมตามทฤษฎีของอีริคสัน (3) แสวงหาตัวทำนายสำคัญและปริมาณการทำนายคุณภาพชีวิต และ (4) ค้นหาว่าผู้ใหญ่วัยกลางคนประเภทใด ที่มีคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ในปริมาณน้อย (ซึ่งจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใหญ่วัยกลางคนชายและหญิง ซึ่งสมรสแล้ว และมีบุตรอย่างน้อย 1 คน จำนวนทั้งสิ้น 64 ราย เครื่องมือวัดตัวแปรเป็นแบบมาตรประเมินรวมค่า (Summated Rating Scales) จำนวน 15 แบบวัด โดยได้มีการหาคุณภาพรายข้อเพื่อคัดเลือกข้อที่มีมาตรฐานสูงตลอดจนมีการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดแต่ละฉบับ แบบวัดแต่ละฉบับมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าระหว่าง .75 ถึง .94 ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ใหญ่วัยกลางคนเกี่ยวข้องกับขั้นของการพัฒนาทางจิตสังคมตามทฤษฎีของอีริคสัน นอกจากนี้จิตลักษณะ 3 ด้าน คือ เอกลักษณ์แห่งตน ความใกล้ชิดผูกพัน และการปรับตัวเพื่อการสร้างขยายเป็นตัวทำนายที่สำคัญของคุณภาพชีวิตแต่ละด้าน (งาน ครอบครัว สังคม และด้านรวม) จึงเสนอให้มีการพัฒนาเอกลักษณ์แห่งตนให้เข้มแข็งในวัยรุ่นไทย เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่จิตลักษณะความใกล้ชิดผูกพันในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และการปรับตัวเพื่อการสร้างขยายในวัยผู้ใหญ่วัยกลางคน


Downloads

Published

2011-12-26

How to Cite

(Nopamas Saesiew) น. แ., (Ngamta Vanindananda) ง. ว., & (Oraphin Choochom) อ. ช. (2011). การปรับตัวทางจิตสังคมและลักษณะสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ใหญ่วัยกลางคน (The Psychosocial Adjustments and Situational Conditions as Correlates of the Quality of Life in Midlife Adulthood). Journal of Behavioral Science for Development, 1(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/557