การศึกษาการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล: กรณีศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (A Study of Authentic Self-Esteem of Undergraduates at Rajamangala University of Echnology : A Case Study of Thai Traditional ... )

Authors

  • ธนารัฐ มีสวย (Thanarat Meesuey)
  • อ้อมเดือน สดมณี (Omduean Soadmanee)
  • สุภาพร ธนะชานันท์ (Supaporn Thanachanan)

Keywords:

การเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง

Abstract

This research was conducted as a qualitative research that has two objectives: 1) to study characteristics of students with authentic self-esteem and 2) to study psychological and social factors as the caused of authentic self-esteem. Area of this study is Thai Traditional Medicine College at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Key informants were undergraduate year 1-4 students with major in Applied Thai Traditional Medicine, enrolled in second semester of 2008 academic year. The purposive sampling method was used to select a sample group of 18 key informants. Data was collected by in-depth interview and focus group discussion. Content analysis was used to analyze qualitative data.

The results found that there are 7 characteristics of students with authentic self-esteem as follows: 1) respect for others with diverse characteristics, 2) accept our ability and status in fact, 3) dare to think and do the right thing, 4) ease in talking of our mistakes or shortcomings with directness, 5) like to accumulate experience as a challenge of life, 6) attempt to prove our ability when was to blamed, and 7) can compromise altogether about oneself and the other's needs. The social environment factors found 3 causes that effect to authentic self-esteem as follows: 1) socialization, 2) reference group influence, and 3) social support; the socialization consist of: 1) family socialization, 2) religious socialization, and 3) school socialization. Family socialization can divide as reasoning and love & support rearing practices and good family relation. Religious socialization, receiving instructions from the Buddhist priest to know what is good and not good worth. In school socialization, was established to know self-reliance and adequateness which effect to build the contentment in oneself, include receiving love and pay attention from the teacher. In the factor of reference group influence, was received influence from family insider or social insider who have good model in the way of life. Besides, mass media still has influential power in the character of the thing that help to think that how mass media has the advantage or be punished to oneself ?, and social support factor, was acknowledged that the social that have the most assistant who help and give honor each other is support persons who have authentic self-esteem. In the psychological factor that affect to authentic self-esteem, found that there are 5 factors, 1) self-acceptance 2) self-respect 3) confidence and predict for any results of our acting 4) the will to cope the challenge of life, and 5) Buddhist belief. Self-acceptance can divide in 3 characteristics as follows: 1) acceptance in ability to decide to do 2) acceptance in ability that has the limitation of oneself and 3) acceptance in ability that happened the mistake or defeat. Results from this acceptance cause the contentment in oneself and have the dominant feature that express to others, for example, has the honesty in oneself, has the responsibility in oneself, do not show the feeling takes sides with oneself, and don’t protect the mistake or the limitation of oneself. Self-respect is the feeling worthy in the ability of a person, which divide in 4 conditions as follows: 1) feeling in the worth of the ability follows to one’s role and duty 2) feeling in the worth of liking ability and skill 3) feeling in the worth of the ability in living freely and 4) the feeling in the worth of the ability to deny the bending power or outside worth. Self-respect can make a student has the pride and happy in the life. In the character that express to others, for example, honoring oneself, pride in the dignity, and require self-reliance. Confidence and predict for any results of our acting the factor that support self-acceptance, have the confidence and admit in the ability of oneself, the dominant feature that express to others is responsibility and admit the result from the behavior of oneself. The will to cope the challenge of life is the will, intending, and paying attention to the education and work. Buddhist belief is having a good knowledge and the belief about the Buddhism, especially doctrines that support self-reliance and denying outside worth.

Key words: authentic self-esteem

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง และเพื่อศึกษาลักษณะสภาพแวดล้อมทางสังคมและลักษณะทางจิตที่เป็นสาเหตุของการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ชั้นปีที่ 1- 4 ที่กาลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จานวน 18 ราย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะของนักศึกษาที่มีการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง มีทั้งหมด 7 ลักษณะ ได้แก่ 1) ให้ความเคารพในตัวบุคคลที่มีความหลากหลายแตกต่างกัน 2) ยอมรับในความสามารถและสถานภาพของตนตามความเป็นจริง 3) กล้าคิดกล้าทาในสิ่งที่ถูกต้อง 4) สามารถพูดถึงข้อผิดพลาดหรือปมด้อยของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา 5) ชอบสั่งสมประสบการณ์ที่ท้าทายความสามารถ 6) พยายามพิสูจน์ความ สามารถของตนเมื่อถูกตาหนิ 7) สามารถประนีประนอมเอาความต้องการของผู้อื่นและของตนเองไว้ร่วมกันได้ ในส่วนของลักษณะสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เป็นสาเหตุของการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของนักศึกษา พบว่า มี 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1) การถ่ายทอดทางสังคม 2) อิทธิพลกลุ่มอ้างอิง 3) การสนับสนุนทางสังคม กล่าวคือ ในการถ่ายทอดทางสังคม สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การถ่ายทอดทางสังคมจากสถาบันครอบครัว 2) การถ่ายทอดทางสังคมจากสถาบันศาสนา 3) การถ่ายทอดทางสังคมจากสถาบันการศึกษา โดยในการถ่ายทอดทางสังคมจากสถาบันครอบครัว คือ การได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลและรักสนับสนุนมาก และมีความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว สาหรับการถ่ายทอดทางสังคมจากสถาบันศาสนา เป็นการได้รับการสั่งสอนอบรมจากพระสงฆ์ให้รู้จักว่าอะไรคือคุณค่าที่ดีงามและไม่ดีงาม ส่วนการถ่ายทอดทางสังคมจากสถาบันการศึกษา เป็นการที่นักศึกษาได้รับการปลูกฝังให้รู้จักการพึ่งตนเองและรู้จักความพอเพียงอันส่งผลต่อความพึงพอใจในตนเอง รวมถึงการได้รับความรัก ความจริงใจ และความเอาใจใส่จากอาจารย์ ส่วนสาเหตุด้านอิทธิพลกลุ่มอ้างอิง เป็นการได้รับอิทธิพลจากบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลในสังคมอันเป็นแบบอย่างที่ดีในการดาเนินชีวิต นอกจากนี้ สื่อยังมีอิทธิพลที่ช่วยกระตุ้นให้นักศึกษาคิดว่าสื่อนั้นมีคุณประโยชน์หรือมีโทษต่อตนเองอย่างไร และสาหรับสาเหตุด้านการสนับสนุนทางสังคม เป็นการที่นักศึกษาสามารถรับรู้ได้ว่าสังคมที่มีแต่คนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นสังคมที่สนับสนุนบุคคลที่เห็นคุณค่าแท้ในตนเอง สาหรับสาเหตุในด้านลักษณะทางจิตที่ส่งผลต่อการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของนักศึกษา พบว่า มี 5 สาเหตุ ได้แก่ 1) การยอมรับตนเอง 2) การเคารพตนเอง 3) ความเชื่อในผลของการกระทาของตนเองและทานายผลนั้นได้ล่วงหน้า 4) ความมุ่งมั่นตั้งใจและอดทนที่จะฝ่าฟันอุปสรรค และ5) ความเชื่อทางพุทธ โดยสาเหตุด้านการยอมรับตนเอง แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การยอมรับในความสามารถที่จะตัดสินใจกระทา 2) การยอมรับในความสามารถที่เป็นข้อจากัดของตน และ3) การยอมรับในความสามารถที่จะเกิดข้อผิดพลาดหรือความพ่ายแพ้ โดยผลจากการยอมรับตนเองนี้ทาให้เกิดความพึงพอใจในตนเอง และมีลักษณะเด่นที่แสดงออกมา ได้แก่ ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความรับผิดชอบต่อตนเองสูง การไม่แสดงความรู้สึกเข้าข้างตนเอง และการไม่ปกป้องความผิดหรือข้อจากัดของตนเอง ส่วนสาเหตุด้านการเคารพตนเอง เป็นความรู้สึกมีคุณค่าในความสามารถของนักศึกษา ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) ความรู้สึกในคุณค่าของความสามารถตามบทบาทหน้าที่ 2) ความรู้สึกในคุณค่าของความสามารถด้านความชอบและความถนัด 3) ความรู้สึกในคุณค่าของความสามารถในการใช้ชีวิตอย่างมีอิสระ และ4) ความรู้สึกในคุณค่าของความสามารถที่จะปฏิเสธแรงโน้มหรือคุณค่าภายนอก ซึ่งผลจากการเคารพตนเองจะทาให้นักศึกษามีความรู้สึกภาคภูมิใจและมีความสุขในชีวิต โดยลักษณะที่แสดงออกมา ได้แก่ การให้เกียรติตนเอง ความหยิ่งในศักดิ์ศรี และความต้องการพึ่งตนเอง ส่วนความเชื่อในผลของการกระทาของตนเองและทานายผลนั้นได้ล่วงหน้า เป็นสาเหตุที่สนับสนุนการยอมรับตนเอง คือมีความเชื่อมั่นและยอมรับในความสามารถของตนเอง โดยลักษณะเด่นที่แสดงออกมาคือ ความรับผิดชอบและยอมรับผลจากการกระทาของตนเอง และสาเหตุด้านความมุ่งมั่นตั้งใจและอดทนที่จะฝ่าฟันอุปสรรค คือ นักศึกษามีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ฝักใฝ่ต่อการเรียน การทางาน และสาเหตุด้านความเชื่อทางพุทธคือ นักศึกษามีความรู้และความเชื่อในคาสอนทางพระพุทธศาสนาค่อนข้างดี โดยเฉพาะการยึดถือคาสอนที่สนับสนุนการพึ่งตนเอง และการละทิ้งคุณค่าภายนอกตนเอง

คำสาคัญ: การเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง

Downloads

Published

2011-12-25

How to Cite

(Thanarat Meesuey) ธ. ม., (Omduean Soadmanee) อ. ส., & (Supaporn Thanachanan) ส. ธ. (2011). การศึกษาการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล: กรณีศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (A Study of Authentic Self-Esteem of Undergraduates at Rajamangala University of Echnology : A Case Study of Thai Traditional . ). Journal of Behavioral Science for Development, 2(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/553