ความสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะและสถานการณ์ทางสังคมกับประสิทธิภาพการทำงานของอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิร่วมกตัญญูในเขตกรุงเทพมหานคร (The Relations of Psychological Characteristics Social Situation and Work Efficiency of Rescue Volunteers from Ruamkatanyu Foundation in Bangkok)

Authors

  • พระมหาจันทร์ธรรม อินทรีเกิด (Pramahachantham Insrikirt)
  • วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี (Wiladlak Chuawanlee)
  • อรพินทร์ ชูชม (Oraphin Choochom)

Keywords:

work efficiency, rescue volunteers, Ruamkatanyu Foundation

Abstract

The objectives of this study were to examine the relationship between Psychological characteristics social situations factors and psychological – situational characteristics to work efficiency of rescue volunteers, to rescue for important predictors of volunteers work efficiency, and to study the interactions between social support and attitude and between social support and rescue work self – efficacy on work efficiency. The participants were 293 rescue volunteers from Ruamkatanyu Foundation in Bangkok. There were three groups of independent variables; psychological characteristics (motivation in volunteers work and brammavihara. Social situation (social support from family, leaders, colleagues, and general people) psychological – situational characteristics (attitude towards volunteers work and rescue work self – efficacy. and dependent variables; work efficiency. Instruments were a 7 part questionnaire. The statistics used in this research were descriptive statistics Pearson product moment correlation, stepwise multiple regression Analysis, and two – way ANOVA.

The results were as follows:

1) Rescue work self – efficacy, attitude towards volunteers work, social support were positively desolated to work efficiency of rescue volunteers.

2) Rescue work self – efficacy together with attitude towards work, and motivation accounted for 22 % of the variance of work efficiency.

3) Rescue work self – efficacy together with social support from general people accounted for 27 % of the variance of work efficiency in elder group and 19 % in younger group.

4) Rescue work self – efficiency together with social support from leader accounted for 29 % of the variance of work efficiency in lighters collection group but only self – efficacy accounted for 18 % in rescue selection group.

5) Rescue work self – efficacy together with attitude and motivation accounted for 28 % of the variance of work efficiency in low work experience.

6) Interaction between social support from family and attitude, social support colleague and attitude, and social support from colleague and self – efficacy on work efficiency rescue were found.

Key words: work efficiency, rescue volunteers, Ruamkatanyu Foundation

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะสถานการณ์ทางสังคม จิตลักษณะตามสถานการณ์กับประสิทธิภาพการทางานของอาสาสมัครกู้ภัย เพื่อค้นหาตัวทานายที่ดีของประสิทธิภาพการทางานของอาสาสมัครกู้ภัยจากจิตลักษณะสถานการณ์ทางสังคม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ ทั้งกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์ทางสังคม จิตลักษณะตามสถานการณ์และสถานการณ์ทางสังคมกับจิตลักษณะตามสถานการณ์ ที่มีต่อประสิทธิภาพการทางานของอาสาสมัครกู้ภัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิร่วมกตัญญู จานวน 293 คน ตัวแปรอิสระที่ศึกษา มี 3 กลุ่ม คือ จิตลักษณะ (แรงจูงใจในการทางาน และ พรหมวิหาร 4) สถานการณ์ทางสังคม (การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว จากหัวหน้าจุด จากเพื่อนร่วมงาน จากประชาชน) และจิตลักษณะตามสถานการณ์ (เจตคติต่อการทางานของอาสาสมัคร และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทางานของอาสาสมัคร) สาหรับตัวแปรตาม ได้แก่ ประสิทธิภาพการทางาน แบ่งออกเป็น การประเมินสภาพผู้บาดเจ็บ การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ การเคลื่อนย้ายและนาส่งผู้บาดเจ็บ ส่วนลักษณะทางชีวสังคม แบ่งออกเป็น อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามจานวน จานวน 1 ชุด แบ่งเป็น 7 ฉบับ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัย พบว่า

1. การรับรู้ความสามารถของตนเองในการทางาน เจตคติต่อการทางาน พรหมวิหาร 4 แรงจูงใจในการทางาน การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว จากหัวหน้าจุด จากเพื่อนร่วมงานและจากประชาชนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิภาพการทางาน

2. ผลการศึกษาเรื่องปัจจัยทานาย พบว่า 1) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการทางาน เจตคติต่อการทางาน แรงจูงใจในการทางาน สามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิภาพการทางานของอาสาสมัครกู้ภัยได้ร้อยละ 22 ในกลุ่มรวม 2) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการทางาน การสนับสนุนทางสังคมจากประชาชน สามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิภาพการทางานของอาสาสมัครกู้ภัยได้ร้อยละ 27 ในกลุ่มอายุมาก 3) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการทางาน เจตคติต่อการทางาน สามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิภาพการทางานของอาสาสมัครกู้ภัยได้ร้อยละ 19 ในกลุ่มอายุน้อย 4) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการทางาน สามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิภาพการทางานของอาสาสมัครกู้ภัยได้ร้อยละ 18 ในกลุ่มระดับการศึกษาต่า 5) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการทางาน การสนับสนุนจากหัวหน้าจุด สามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิภาพการทางานของอาสาสมัครกู้ภัยได้ร้อยละ 29 ในกลุ่มระดับการศึกษาสูง 6) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการทางาน เจตคติต่อการทางาน แรงจูงใจในการทางาน สามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิภาพการทางานของอาสาสมัครกู้ภัยได้ร้อยละ 28 ในกลุ่มระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อย

3. พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว จากเพื่อนร่วมงานกับเจตคติต่อการทางานและการสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนร่วมงานกับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทางานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทางานของอาสาสมัครกู้ภัย

4. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมจากหัวหน้าจุด จากประชาชนกับเจตคติต่อการทางานและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว จากหัวหน้าจุด จากประชาชนกับการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทางานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทางานของอาสาสมัครกู้ภัย

คำสาคัญ: ประสิทธิภาพการทำงาน, อาสาสมัครกู้ภัย, มูลนิธิร่วมกตัญญู

Downloads

Published

2011-12-25

How to Cite

(Pramahachantham Insrikirt) พ. อ., (Wiladlak Chuawanlee) ว. ช., & (Oraphin Choochom) อ. ช. (2011). ความสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะและสถานการณ์ทางสังคมกับประสิทธิภาพการทำงานของอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิร่วมกตัญญูในเขตกรุงเทพมหานคร (The Relations of Psychological Characteristics Social Situation and Work Efficiency of Rescue Volunteers from Ruamkatanyu Foundation in Bangkok). Journal of Behavioral Science for Development, 2(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/552