ลักษณะทางจิตและการถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของพยาบาลจบใหม่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร (Psychological Characteristics and Nurse Socialization related to Job Performance as Professional Nursing Roles of ... )
Keywords:
ลักษณะทางจิต, พฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาล, การถ่ายทอดทางวิชาชีพ, พยาบาลจบใหม่Abstract
The purposes of this study were as follows : 1) To study relationship between psychological traits (such as sense of coherence, achievement motive and Sangahahavatthu), psychological states (such as stress from work and attitude toward professional nursing roles) and situational factors (such as formal nurse socialization and informal nurse socialization) with job performance as professional nursing roles of new graduated nurses. 2) To predict job performance as professional nursing roles of new graduated nurses from psychological traits, psychological states and situational factors. 3) To examine the interaction effects of psychological traits and the situational factors on job performance as professional nursing roles of new graduated nurses. The sample were 274 new graduated nurses from autonomous university hospitals in Bangkok such as Ramathibodi hospital and Siriraj hospital who have been working full time in their position at least 1 year but not over 2 years. Eight instruments employed data collection were summated rating scales.The reliability coefficients of instruments(Cronbach’s alpha coefficient) ranged from .82 to .93. The statistical procedures used for data analysis were descriptive statistic, Pearson product-moment correlation, multiple regression analysis and two-way analysis of variance. Research results were summarized as follows :1) All variables of psychological traits and psychological states were positively correlated to job performance as professional nursing roles of new graduated nurses. For psychological states, attitude toward professional nursing roles was positively correlated to job performance as professional nursing roles of new graduated nurses but stress from work was negatively correlated to job performance as professional nursing roles of new graduated nurses. 2) Formal nurse socialization was the first factor to predict job performance as professional nursing roles of new graduated nurses. Informal nurse socialization and achievement motive were second and third factors respectively to predict job performance as professional nursing roles of new graduated nurses. These factors could predict 45% of job performance as professional nursing roles of new graduated nurses, autonomous university hospitals in Bangkok. 3) No interaction effects of formal nurse socialization and psychological traits on job performance as professional nursing roles of new graduated nurses were found. 4) Interaction effects of informal nurse socialization and Sangahavatthu on job performance as professional nursing roles of new graduated nurses were found.
Key words: psychological traits, nurse socialization, job performance as professional nursing, new graduated nurses
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจิตลักษณะเดิม (ความเข้มแข็งในการมองโลก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และสังคหวัตถุ 4) จิตลักษณะตามสถานการณ์(ความเครียดจากสภาพงานพยาบาล และเจตคติต่อการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพ) และสถานการณ์ทางสังคม (การได้รับการถ่ายทอดทางวิชาชีพอย่างเป็นทางการ และการได้รับการถ่ายทอดทางวิชาชีพอย่างไม่เป็นทางการ) กับพฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของพยาบาลจบใหม่ 2. เพื่อทานายพฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของพยาบาลจบใหม่ จากจิตลักษณะเดิม จิตลักษณะตามสถานการณ์ และสถานการณ์ทางสังคม 3. เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะเดิม และสถานการณ์ทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของพยาบาลจบใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลจบใหม่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลศิริราช ครบ 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปี จานวน 274 คน เครื่องมือในการศึกษานี้ เป็นแบบวัดมาตรประเมินรวมค่าจานวน 8 ฉบับ โดยมีพิสัยของค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดชนิดสัมประสิทธิ์แอลฟ่าอยู่ระหว่าง .82 ถึง .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ตัวแปรทุกตัวในด้านสถานการณ์ทางสังคมและด้านจิตลักษณะเดิมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของพยาบาลจบใหม่ ส่วนด้านจิตลักษณะตามสถานการณ์นั้น พบว่า ตัวแปรเจตคติต่อการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของพยาบาลจบใหม่ แต่ตัวแปรความเครียดจากสภาพงานพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของพยาบาลจบใหม่ 2)การได้รับการถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาลอย่างเป็นทางการ เป็นตัวแปรสาคัญลาดับแรก ที่สามารถทานายพฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของพยาบาลจบใหม่ รองลงมา คือ การได้รับการถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาลอย่างไม่เป็นทางการ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยร่วมกันทานายพฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพ ได้ร้อยละ45 3) ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาลอย่างเป็นทางการกับทุกตัวแปรในด้านจิตลักษณะเดิมที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของพยาบาลจบใหม่ 4) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการถ่ายทอดทางวิชาชีพพยาบาลอย่างไม่เป็นทางการกับ สังคหวัตถุ 4 ที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาลตามบทบาทวิชาชีพของพยาบาลจบใหม่
คำสาคัญ: ลักษณะทางจิต, พฤติกรรมการปฏิบัติงานพยาบาล, การถ่ายทอดทางวิชาชีพ, พยาบาลจบใหม่