ปัจจัยทางจิตและการสนับสนุนทางสังคมที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมด้านการป้องกันโรคเอดส์ของเด็กเร่ร่อนในศูนย์สร้างโอกาสเด็กกรุงเทพมหานคร (Psychological Factors and Social Support behind the Acceptance of Innovation regarding Aids Prevention Behavior among Homeless ... )

Authors

  • พิชามญชุ์ โตโฉมงาม (Phichamon Tochomngam)
  • สุภาพร ธนะชานันท์ (Supaporn Thanachanan)
  • อุษา ศรีจินดารัตน์ (Usa Srijindarat)

Abstract

This research had three main objectives. First, to explore the relationship between psychological factors and social support regarding acceptance of innovation toward AIDS prevention behavior among homeless children at the Home of Hope, Bangkok Metropolitan Area; second: to compare the predictive powers of psychological factors and social support regarding acceptance of innovation toward AIDS prevention behavior among homeless children; and third to compare the acceptance of innovation toward AIDS prevention behavior within the groups of psychological factors social support and background. The participants, selected by quota sampling, consisted of 150 homeless children aged 10 - 18 (average 15.44) who have contacted and registered with the Home of Hope. The variables were divided into three independent groups: 1) psychological characteristics; extravert traits, future orientation and self control, and achievement motivation; 2) social support; and 3) attitude toward prevention of AIDS. The dependent variable is acceptance of innovation regarding AIDS prevention behavior. The research findings were as follows:

1. The future orientation and self control, achievement motive and attitude towards prevention on AIDS variables had positive correlation with the acceptance of innovation regarding all AIDS prevention behavior.

2. As attitude toward prevention on AIDS is the first predictor and achievement motive, variables could predict the amount of variability of the acceptance of innovation regarding all AIDS prevention behavior, while comparing the research results among different groups of respondents, it was found that the predictive power was strong in the homeless children who have homeless’ time lower 7 year: the predictive value was 23 %., But this level of predictability was not found in other groups.

3. Among homeless children who were in the groups of high future orientation and self control, positive attitude toward prevention of AIDS, homeless’ time lower 7 year, absence of sex relations with others and absence of drug use also appear to be conducive to higher acceptance of innovation regarding AIDS prevention behavior, with statistical significance at 05.

Key words: acceptance of innovation toward AIDS prevention behavior, homeless children

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ปัจจัยทางจิตและการสนับสนุนทางสังคมที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรม ด้านการป้องกันโรคเอดส์ของเด็กเร่ร่อนในศูนย์สร้างโอกาสเด็ก กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ คือ 1) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตและการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรม การยอมรับนวัตกรรม ด้านการป้องกันโรคเอดส์ของเด็กเร่ร่อนในศูนย์สร้างโอกาสเด็ก กรุงเทพ มหานคร 2) เพื่อหาปริมาณการทานายร่วมกันของปัจจัยทางจิตและการสนับสนุนทางสังคมที่สามารถทานายพฤติกรรม การยอมรับนวัตกรรม ด้านการป้องกันโรคเอดส์ของเด็กเร่ร่อนในศูนย์สร้างโอกาสเด็ก กรุงเทพ มหานคร และ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม การยอมรับนวัตกรรม ด้านการป้องกันโรคเอดส์ของเด็กเร่ร่อนในศูนย์สร้างโอกาสเด็ก กรุงเทพมหานคร ที่มีปัจจัยทางจิต การสนับสนุนทางสังคม และลักษณะชีวสังคมแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็น เด็กเร่ร่อนสัญชาติไทยที่มีอายุระหว่าง 10-18 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 15.44 ปี และขึ้นทะเบียนไว้ในศูนย์สร้างโอกาสเด็ก กรุงเทพมหานคร จานวน 150 คน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็นตัวแปรอิสระ 5 ตัว ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม บุคลิกภาพแบบแสดงตัว ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และเจตคติต่อพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมด้านการป้องกันโรคเอดส์ และตัวแปรตามคือ พฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมด้านการป้องกันโรคเอดส์ ผลการวิจัยพบว่า

1. ตัวแปรอิสระ 3 ตัว ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมด้านการป้องกันโรคเอดส์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และเจตคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์

2. ปริมาณการทานายของปัจจัยทางจิตสามารถทานายพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมด้านการป้องกันโรคเอดส์ได้สูงสุด 23% ในกลุ่มเด็กเร่ร่อนที่มีระยะเวลาออกมาเร่ร่อนต่ากว่า 7 ปี ทั้งนี้เจตคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์สามารถทานายพฤติกรรม การยอมรับนวัตกรรม ด้านการป้องกันโรคเอดส์ของเด็กเร่ร่อนในศูนย์สร้างโอกาสเด็ก กรุงเทพมหานคร ได้ดีที่สุด

3. กลุ่มเด็กเร่ร่อนที่มีลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตนสูง มีเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ มีระยะเวลาออกมาเร่ร่อนต่ากว่า 7 ปี และเป็นผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ไม่ใช้ยาเสพติด และไม่เคยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นกลุ่มที่มีพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมด้านการป้องกัน โรคเอดส์มากกว่ากลุ่มเด็กเร่ร่อนที่มีลักษณะตรงข้ามกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: พฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมด้านการป้องกันโรคเอดส์, เด็กเร่ร่อน

Downloads

Published

2011-12-25

How to Cite

(Phichamon Tochomngam) พ. โ., (Supaporn Thanachanan) ส. ธ., & (Usa Srijindarat) อ. ศ. (2011). ปัจจัยทางจิตและการสนับสนุนทางสังคมที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมด้านการป้องกันโรคเอดส์ของเด็กเร่ร่อนในศูนย์สร้างโอกาสเด็กกรุงเทพมหานคร (Psychological Factors and Social Support behind the Acceptance of Innovation regarding Aids Prevention Behavior among Homeless . ). Journal of Behavioral Science for Development, 2(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/549