ปัจจัยเชิงสาเหตุทางจิตสังคมและปัจจัยเชิงผลด้านการจัดการกับความเครียดของ พฤติกรรมรักการอ่านในนักเรียนวัยรุ่น (Reading Behavior of Adolescents : Its Psycho-Social Antecedents and Consequential Stress Coping)

Authors

  • ศุภรางค์ อินทุณห์ (Suppharang Intun)
  • งามตา วนินทานนท์ (Ngamta Vanindananda)
  • จรัล อุ่นฐิติวัฒน์ (Jarun Unthitiwat)

Keywords:

การอ่าน, ความสนใจในการอ่าน.reading behavior, reading interest

Abstract

Love reading behavior in adolescents should receive the promotion as many scholars agreed that there are many good points to them such as students who love reading would be able to adjust themselves to the changes in the society properly, this behavior can help him control and endure their nervous. They, moreover, can manage their stress wisely. The purposes of this research were 1) to study the relationship between the social situation and psychological characteristics of various kinds of students to the reading behavior 2) to identify antecedents and predictive power of psychological states on students. Sample of this study were 531 studying students at 9th grade in junior high school and two kinds of junior high school which were two reading habit promotion schools and two non reading habit promotion schools.

In this study, there were two factors of reading behavior, one was amount of reading positive content, and another was interesting positive content. Interactionism Model was used as a conceptual framework and literature review.

Six research hypothesizes were tested by two types of statistics that were consisted of Two – Way and Three – Way Analysis of Variance and Multiple Regression Analysis in terms of Standard and Stepwise.

There were 3 important findings as follows:

First, 1) Students, with high amount of reading positive content, were found in students in the reading habit promotion school or with high support in reading from teachers in the whole group. 2) Students, who were high interested in the positive content, were students with high support in reading from parents and in high need for achievement, and with high future orientation – self control had highest interesting positive content.

Second, after using all 11 independent variables which were divided into 6 variables of situational condition, 3 variables of psychological traits, and 2 variables of psychological state, the independent variables could predict the reading behavior. Amount of the intention in reading in the positive content from 55.40% to 64.20% in subgroups. All these groups could be respectively classified from the highest to the lowest as the following: attitudes toward reading behavior, need for achievement, peer model, and future orientation – self control.

Third, when taking 2 factors— amount of time in reading positive content and intention in reading in the positive content—the study could predict the stress management from 9.40 to 19.40 in various kinds of students.

Key words: reading behavior, reading interest

บทคัดย่อ

การรักการอ่านเป็นพฤติกรรมที่ควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมแก่เยาวชนให้เป็นนิสัย นักวิชาการหลายท่านกล่าวถึงผลดีของการที่เยาวชนมีนิสัยรักการอ่านไว้หลายประการ เช่น ผู้ที่รักการอ่านจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้เยาวชนรู้จักระงับอารมณ์ มีความอดทน รู้จักที่จะจัดการกับความเครียดของตนเองได้ จุดมุ่งหมายของงานวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์ทางสังคมกับจิตลักษณะของนักเรียนมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรักการอ่านมากน้อยเพียงใด 2) เพื่อแสวงหาตัวแปรเชิงเหตุที่สาคัญและปริมาณการทานายตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์และพฤติกรรมรักการอ่านของนักเรียน ในนักเรียนประเภทต่างๆ 3) เพื่อศึกษาว่าพฤติกรรมรักการอ่านสามารถทานายการจัดการกับความเครียดได้มากน้อยเพียงใด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่กาลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน 2 ประเภทคือ โรงเรียนต้นแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่านจานวน 2 โรง โรงเรียนที่ไม่ใช่โรงเรียนต้นแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอีก 2 โรง รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างจานวน 531 คน

ในการวิจัยครั้งนี้ กาหนดตัวแปรเชิงเหตุของพฤติกรรมรักการอ่าน 2 ด้าน (ปริมาณเวลาที่ใช้ในการอ่านเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และความสนใจเลือกอ่านเนื้อหาที่เป็นประโยชน์) โดยใช้รูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม (Interactionism Model) เป็นกรอบในการประมวลเอกสารเพื่อกาหนดตัวแปรเชิงเหตุของพฤติกรรมรักการอ่าน

สมมติฐานในการวิจัยนี้มี 6 ข้อ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางและแบบสามทาง (Two - Way and Three - Way Analysis of Variance) 2) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐานและแบบเป็นขั้น (Standard and Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยที่สาคัญ

ประการที่หนึ่ง 1) นักเรียนที่มีปริมาณเวลาที่ใช้ในการอ่านเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ด้านรวมมาก ได้แก่ นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนต้นแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน หรือรับรู้การสนับสนุนด้านการอ่านจากครูมาก พบในกลุ่มนักเรียนโดยรวม 2) นักเรียนที่มีความสนใจเลือกอ่านเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มาก ได้แก่ นักเรียนที่รับรู้การสนับสนุนด้านการอ่านจากบิดามารดามาก มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง และมีลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตนสูง เป็นผู้มีความสนใจเลือกอ่านเนื้อหาที่เป็นประโยชน์มากที่สุด

ประการที่สอง เมื่อใช้ตัวแปรกลุ่มลักษณะสถานการณ์ 6 ตัวแปร จิตลักษณะเดิม 3 ตัวแปร และจิตลักษณะตามสถานการณ์ 2 ตัวแปร ร่วมกัน 11 ตัวแปร สามารถทานายความสนใจเลือกอ่านเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ได้ร้อยละ 55.40 ถึง ร้อยละ 64.20 ในกลุ่มนักเรียนประเภทต่างๆ ที่ศึกษามีตัวทานายสาคัญเรียงลาดับจากมากไปน้อย ได้แก่ เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมรักการอ่าน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การมีแบบอย่างพฤติกรรมรักการอ่านจากเพื่อน ลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน

ประการที่สาม เมื่อนาตัวแปรกลุ่มพฤติกรรมรักการอ่าน2 ด้าน (ปริมาณเวลาที่ใช้ในการอ่านเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และความสนใจเลือกอ่านเนื้อหาที่เป็นประโยชน์) ร่วมกันสามารถทานาย การจัดการกับความเครียด ได้ร้อยละ 9.40 ถึง ร้อยละ 19.40 ในนักเรียนประเภทต่างๆ

คำสำคัญ: การอ่าน, ความสนใจในการอ่าน

Downloads

Published

2011-12-25

How to Cite

(Suppharang Intun) ศ. อ., (Ngamta Vanindananda) ง. ว., & (Jarun Unthitiwat) จ. อ. (2011). ปัจจัยเชิงสาเหตุทางจิตสังคมและปัจจัยเชิงผลด้านการจัดการกับความเครียดของ พฤติกรรมรักการอ่านในนักเรียนวัยรุ่น (Reading Behavior of Adolescents : Its Psycho-Social Antecedents and Consequential Stress Coping). Journal of Behavioral Science for Development, 2(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/548