ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตเทศบาลเมืองชุมพร (Psychosocial Factors related to Nutritional Having Food Behavior among Secondary School Students in Chumphon Municipality, Chumphon Province)

Authors

  • กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง (Krittiwat Chatthong) BSRI, Srinakharinwirot University
  • อรพินทร์ ชูชม (Oraphin Choochom)
  • ฉันทนา ภาคบงกช (Chantana Pakbongkoch)
  • สธญ ภู่คง (Sathon Phukong)

Keywords:

พฤติกรรมการรับประทานอาหาร

Abstract

The main objects of this study were to compare the nutritional having food behavior among secondary school students within the deference of psychosocial characteristics and to compare the power of predictors of nutritional having food behavior from each factors. The sample used in this study consisted of 600 students (male 251 and female 349) who had studied in secondary school in Chumphon municipality. The questionnaires were used to collect the data had 0.89 of reliability and analyzed by using Pearson Product Moment Coefficient and Multiple Regression Analysis (MRA).

The results of this study were as follow : see full text

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และลักษณะทางจิตสังคมที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คน แบ่งเป็นเพศชาย 251 คน และเพศหญิง 349 คน โดยใช้แบบสอบถามทั้งฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson product-moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis : MRA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าทั้งเพศชาย หญิง และกลุ่มรวม มีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 4.08, 4.10 และ 4.09 ตามลำดับ) ด้านลักษณะทางจิต และลักษณะทางสังคมในกลุ่มตัวอย่างรวม พบว่า ทุกตัวแปรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นตัวแปรตัวแบบด้านสุขภาพของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.41)

ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรลักษณะทางจิตสังคมกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในกลุ่มตัวอย่างรวม พบว่า เจตคติต่อการรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการมีความสัมพันธ์สูงสุดกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 (r = 0.62) รองลงมา คือ การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ (r = 0.47) ตัวแบบด้านสุขภาพจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง (r = 0.46) การรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากสื่อมวลชน (r = 0.32) อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน (r = 0.27) และการรับความรู้ทางด้านสุขภาพจากโรงเรียน (r = 0.26)

การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในกลุ่มรวม พบว่า เจตคติต่อการรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ และการรับความรู้ทางด้านสุขภาพจากโรงเรียน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการได้ร้อยละ 48.0 ส่วนในกลุ่มตัวอย่างเพศชาย พบว่า เจตคติและการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการได้ร้อยละ 71.0 และในกลุ่มเพศหญิง พบว่า ตัวแบบด้านสุขภาพจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง เจตคติต่อการรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการ การรับความรู้ทางด้านสุขภาพจากโรงเรียน อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน และการรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพจากสื่อมวลชนร่วมกันทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการได้ร้อยละ 47.0

คำสำคัญ: พฤติกรรมการรับประทานอาหาร

Author Biographies

กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง (Krittiwat Chatthong), BSRI, Srinakharinwirot University

BSRI

อรพินทร์ ชูชม (Oraphin Choochom)

BSRi, swu

ฉันทนา ภาคบงกช (Chantana Pakbongkoch)

SWU

Downloads

Published

2011-12-25

How to Cite

(Krittiwat Chatthong) ก. ฉ., (Oraphin Choochom) อ. ช., (Chantana Pakbongkoch) ฉ. ภ., & (Sathon Phukong) ส. ภ. (2011). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตเทศบาลเมืองชุมพร (Psychosocial Factors related to Nutritional Having Food Behavior among Secondary School Students in Chumphon Municipality, Chumphon Province). Journal of Behavioral Science for Development, 3(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/544