ผลของการฝึกสำรวมสติและการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการต่อปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ (Effect of Mindfulness Restraint and Yonisomana-Sikara Training on Mathayomsuksa IV Students’ Buddhist Emotional Intelligence in ... )
Keywords:
ปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนา, ชุดฝึกการสำรวมสติ, ชุดฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนAbstract
This is an experiment research which aimed to develop Buddhist emotional intelligence amount Grade 10 students in Sri Ayudhya School under the Royal Patronage. The research aimed to achieve two objectives; 1) to study the result of Buddhist Emotional Intelligence Development Program with students’ Buddhist emotional intelligence, and 2) to study the result of Buddhist Emotional Intelligence Development Program with Buddhist emotional intelligence of students who had different academic achievements. The sampling group was 32 students, selected by a random assignment, from Grade 10 in Sri Ayudhya School under the Royal Patronage in 2552 B.E. The selection divided students into a group of eight who had high and low academic achievements as an experimental group and a control group. Totally, each group was combined of 16 members. The training was made during three days and two nights. The Buddhist emotional intelligence was compared before with after the program and between the experimental group with the control group by T-test . Two-way ANOVA also was employed to compare Buddhist emotional intelligence between two groups of students who had different academic achievements.
The research findings were as follows:
1. The group of students who were trained under Buddhist Emotional Intelligence
Development Program had higher level of Buddhist emotional intelligence than the time before the program with a significant statistic value at 0.05. After considered from each area, it found that the students who were trained under the development program gained higher level of emotional intelligence, in terms of emotion, thinking, and behavior, than the time before attending the program with a significant static value at 0.05.
2. The group of students who were trained under Buddhist Emotional Intelligence
Development Program had higher level of the emotional intelligence than the group of students who were not trained under the program with a significant static value at 0.05. After considered from each area, it found that the students who were trained under the development program gained higher level of emotional intelligence, in terms of emotion, thinking, and behavior, than the group of students who are not trained under the program with a significant statistic value at 0.05.
3. The relationship between an academic achievement and the development program which affected the level of Buddhist emotional intelligence as a whole or from each areas; emotion, thinking, and behavior, was not found.
Key words: Buddhist emotional intelligence, mindfulness restraint, Yonisomanasikara training, Grade Point Average
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองเพื่อทำการพัฒนาปรีชาอารมณ์แนวพุทธศาสนาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยสองประการคือ 1) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนา ที่มีต่อปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนาของนักเรียน และ 2) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนาที่มีต่อปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนาของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ ปีการศึกษา 2552 จำนวนทั้งสิ้น 32 คน ทำการสุ่มแบบเข้ากลุ่ม (Random Assignment) เพื่อจัดนักเรียนจากกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน ได้นักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 16 คนเท่ากัน ทำการฝึก 3 วัน 2 คืน แล้วเปรียบเทียบปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนาระหว่างหลังการทดลองกับก่อนการทดลอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมด้วยการทดสอบค่า t (t-test) ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนาหลังทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน
สรุปผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนามีระดับปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนาองค์รวมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมพัฒนา มีระดับปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนาองค์ประกอบทั้งด้านความรู้สึก ด้านความคิด และด้านพฤติกรรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนามีระดับปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนาองค์รวมสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนามีระดับปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนาองค์ประกอบ ทั้งด้านความรู้สึก ด้านความคิด และด้านพฤติกรรม สูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับโปรแกรมการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กับการได้รับโปรแกรมการพัฒนาที่มีผลต่อระดับปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนา ทั้งโดยองค์รวมและแยกองค์ประกอบด้านความรู้สึก ด้านความคิด และด้านพฤติกรรม
คำสำคัญ: ปรีชาเชิงอารมณ์แนวพุทธศาสนา, ชุดฝึกการสำรวมสติ, ชุดฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน