การศึกษาจริต 6 กับกาiรับรู้ความตาย : กรณีศึกษาผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน วัดระฆังโฆสิตาราม

Authors

  • พระวรศักดิ์ จนฺทโชโต (โมกขสุทธิวงค์) Phraworasa มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Keywords:

จริต 6, การรับรู้ความตาย, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

Abstract

The objectives of this study to 1. Study the level of the Six Personality Traits and the level of the perception towards death. 2. Study the relationship between general information and the perception towards death 3.Study the relationship between the Six Personality Traits and the perception of death. The sample for this survey were 201 Vipassana practitioners at Wat Rakang Kositaram, Bangkok. The tool used for the survey was a questionnaire which was created to determine the relationship between the personality traits and the perception towards death. The statistic used to test the hypothesis were Independent Samples t-test, F-test (One-way ANOVA) and compared the paired difference with the Fisher’s Least-Significant Difference (LSD).

The research found that

1. The analysis result of general information

Most respondents had an age between 20-30 years. There were more female than male, under-graduated, unmarried and were still a college student. They had an average monthly income higher than 15,001 Baht and lower than 6,000 Baht. Most of them had practiced Vipassana more than once a year and had practiced for less than 3 months.

2. The analysis result on the behavioral level of the six personality traits

The respondents were on a high level for the bodhi trait, a high level for the faithful trait, a medium level for the ignorant trait, a medium level for the desirous trait, a medium level for the anxious trait and a medium level for the angry trait.

3. The analysis result on the level of the perception towards death

The respondents were on a medium level of the perception towards death . When considering the perception towards death from each element, it was (dhukkha) was the highest, followed by from the impermanence quality (anicca) and from the non-self quality (anatta) respectively.

 

4. The analysis result on the relationship between the perception towards death and the  general information

The perception towards death of different sex groups did not significantly differ at the error rate at .05. The perception towards death of different age groups, education levels, careers, incomes, frequencies and durations of Vipassana practice differed significantly at the error rate at .05.

5. The analysis result on the relationship between six personality traits and the perception towards death

The survey result on the perception towards death (Three Characteristics) and six personality traits of Vipassana pratitioners at Wat Rakangkositaram found that the perception towards death (Three Characteristics) on all three elements i.e. Impermanence quality, suffering quality, and non-self quality found that those practitioners who had a faithful trait and bodhi trait recognized dying differently from those who had an anger trait, ignorant trait and anxious trait with the significant level at .05.

Key words: six personality, perception towards death, Vipassana practitioners

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมจริต 6 และระดับการรับรู้ความตาย 2) ศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ความตาย จำแนกตามลักษณะข้อมูลทั่วไป 3) ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างจริต 6 กับการรับรู้ความตาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จริต 6 และการรับรู้ความตาย สมมติฐานในงานวิจัยครั้งนี้มี 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Independent Samples t-test, F-test (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Fisher’s Least-Significant Difference (LSD)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี และเป็นเพศหญิง มีระดับการศึกษาปริญญาตรี สถานภาพโสด ส่วนใหญ่ยังเป็นนักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า 15,001 บาท และต่ำกว่า 6,000 บาท ส่วนใหญ่มาฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมากกว่าหนึ่งเดือนต่อครั้ง และมีระยะเวลาฝึกปฏิบัติธรรมมาน้อยกว่า 3 เดือน

2. ผลการวิเคราะห์ระดับพฤติกรรมลักษณะจริต 6 กลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมมีความเป็นพุทธิจริต และสัทธาจริตอยู่ในระดับมาก โมหจริต ราคจริต วิตกจริต และโทสจริตอยู่ในระดับปานกลาง

3. ผลการวิเคราะห์ระดับการรับรู้ความตาย กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความตายโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาแยกเป็นด้านต่างๆ พบว่า การรับรู้ความตายด้านทุกขังมากที่สุด อยู่ในระดับมาก การรับรู้ความตายด้านอนิจจังอยู่ในระดับปานกลาง และการรับรู้ความตายด้านอนัตตาน้อยที่สุด ตามลำดับ

4. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการรับรู้ความตาย จำแนกตามลักษณะข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทั่วไปด้านเพศต่างกัน มีการรับรู้ความตายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนข้อมูลทั่วไปด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ความถี่และระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มีการรับรู้ความตายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างจริต 6 กับการรับรู้ความตาย ผลที่ได้จากการวิจัย พบว่า การรับรู้ความตาย (ไตรลักษณ์) ทั้งสามด้าน คือ ด้านอนิจจัง ด้านทุกขัง และด้านอนัตตา นั่นพบว่าผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่เป็นสัทธาจริตและพุทธิจริต รับรู้ความตายแตกต่างกับโทสจริต โมหจริต วิตกจริต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: จริต 6, การรับรู้ความตาย, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

Downloads

Published

2011-12-25

How to Cite

Phraworasa พ. จ. (โมกขสุทธิวงค์). (2011). การศึกษาจริต 6 กับกาiรับรู้ความตาย : กรณีศึกษาผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน วัดระฆังโฆสิตาราม. Journal of Behavioral Science for Development, 3(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/540