การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โดยการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการ (The Development of Desirable Characteristics of Family Members for Schizophrenic Patients’ Caregiving through Intergrative Family Counseling)

Authors

  • กาญจนา สุทธิเนียม (Kanchana Sutthineam)
  • ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (Phongphan Kerdpitak)
  • วรนุช แหยมแสง (Woranuch Yhaemsaeng) Ramkhamhang University

Keywords:

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, การให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการ, การรับรู้ของสมาชิกครอบครัวที่มีต่ออาการทางจิตของผู้ป่วย, สุขภาพจิตของผู้ป่วยจิตเภท

Abstract

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the desirable characteristics of the family members for schizophrenic patients caregiving, 2) to construct the model of family counseling for developing desirable characteristics of the family members for schizophrenic patient’s caregiving, 3) to evaluate the effectiveness of the integrative family counseling model for developing the desirable characteristics of the family members for schizophrenic patients’ caregiving The subjects were divided into 3 groups. The first group of the desirable characteristics study consisted of 377 family members for schizophrenic patients’ caregiving. The second group consisted of 12 family members for schizophrenic patients’ caregiving. This second group was purposively selected from the family members for schizophrenic patients’ care giving whose desirable characteristics scores were low and volunteered to attend the experiment. They were then randomly assigned into two groups, classified as an experimental group and a control group. Each group consisted of 6 families. The experimental group received the integrative family counseling and the control group did not receive any family counseling. The third group of the mental health study was the 12 schizophrenic patients of the families in the experimental group and a control group.

The research instruments were 1) the scale measuring desirable characteristics of family members for schizophrenic patients’ caregiving and its construct validity was confirmed through factor analysis, 2) the scale measuring perception of the family members on the psychotic symptoms of the schizophrenic patients., 3) the scale measuring mental health of the schizophrenic patients., and 4) the integrative family counseling model for developing desirable characteristics of family member for schizophrenic patients’ caregiving. The data were analyzed by mean, standard deviation, confirmatory factor analysis, two-way repeated ANOVA measurement and nonparametric samples test (Mann-Whitney U Test).

The results of this research were as follows :

1. The total mean score of the desirable characteristics of family members for schizophrenic patients’ caregiving were high.

2. The desirable characteristics of the family members for schizophrenic patients’ caregiving of the experimental group after participating in the integrative family counseling and after the followup were significantly higher than that of the control group at .05 level.

3. The perceptions of the family members on the psychotic symptoms of the schizophrenic patients in the experimental group after participating in the integrative family counseling and after the follow-up were significantly higher than that of the control group at .05 level.

4. The mental health of the schizophrenic patients of the families in the experimental group after participating in the integrative family counseling and after the follow-up were significantly higher than that of the control group at .05 level.

Key words: the desirable characteristics of family members for schizophrenic patients’ caregiving, the integrative family counseling, the perceptions of the family members on the psychotic symptoms of the schizophrenic patients, the mental health of the schizophrenic patients

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท 2) เพื่อสร้างรูปแบบการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการ ในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 377 คน เป็นกลุ่มที่ใช้ในการศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มที่ 2 เป็นสมาชิกครอบครัว จำนวน 12 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากสมาชิกครอบครัวที่ดูผู้ป่วยจิตเภทที่มีคะแนนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทต่ำ สมัครในเข้าร่วมการทดลอง แล้วใช้การสุ่มเข้ากลุ่มเป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 6 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท ส่วนกลุ่มควบคุมให้เป็นไปตามสภาพปกติ กลุ่มที่ 3 เป็นผู้ป่วยจิตเภทของสมาชิกครอบครัวกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน 12 คน เป็นกลุ่มที่ใช้ในการศึกษาสุขภาพจิตของผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัว 2) แบบวัดการรับรู้ของสมาชิกครอบครัวที่มีต่ออาการทางจิตของผู้ป่วย 3) แบบวัดสุขภาพจิตของผู้ป่วย และ 4) รูปแบบการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-way Repeated ANOVA Measurement) และการวิเคราะห์ Nonparametric Samples Test แบบ Mann-Whitney U Test

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 377 คน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับสูง

2. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวกลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการและหลังการติดตามผล เพิ่มขึ้นกว่าคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. การรับรู้ของสมาชิกครอบครัวที่มีต่ออาการทางจิตของผู้ป่วนกลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการและหลังการติดตามผล เพิ่มขึ้นกว่าการรับรู้ของสมาชิกครอบครัวที่มีต่ออาการทางจิตของผู้ป่วยกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. สุขภาพจิตของผู้ป่วยจิตเภทของครอบครัวกลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการและหลังการติดตามผลดีขึ้นกว่าสุขภาพจิตของผู้ป่วยจิตเภทของครอบครัวกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, การให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการ, การรับรู้ของสมาชิกครอบครัวที่มีต่ออาการทางจิตของผู้ป่วย, สุขภาพจิตของผู้ป่วยจิตเภท

Author Biography

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (Phongphan Kerdpitak)

มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Downloads

Published

2011-12-25

How to Cite

(Kanchana Sutthineam) ก. ส., (Phongphan Kerdpitak) ผ. เ., & (Woranuch Yhaemsaeng) ว. แ. (2011). การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท โดยการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการ (The Development of Desirable Characteristics of Family Members for Schizophrenic Patients’ Caregiving through Intergrative Family Counseling). Journal of Behavioral Science for Development, 3(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/538