Psychosocial Factors Related to Mathayomsuksa 3 Students’ Moderation Practices as Sufficiency Economy in School with Sufficiency Modelปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสถานศึกษาพอเพียงแบบอย่

Authors

  • Tassanan Chinsiriphan
  • Ungsinun Intarakhamhang
  • Wichuda Kijtorntham

Keywords:

การปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ สถานศึกษาพอเพียงแบบอย่าง

Abstract

The purpose of this research was to study causal factors of situation, psychological traits and psychological state related to moderation practices as sufficiency economy. The samples were 447 mathayom suksa 3 students. The data were analyzed by Two-Way Analysis of Variance and Stepwise Multiple Regression Analysis. The research finding were as follow: 1) there were the interaction effect between school types and future orientation and self-control influencing on moderation practices as sufficiency economy in time management and technology and resource utilization, 2) there were the interaction effect between future orientation and self-control and moderation socialization from family influencing on total moderation practices, spending, time management, and moderation consuming, 3) there were the interaction effect between mental health and receiving moderation information from media influencing on total moderation practices, spending, and technology and resource utilization, and 4) nine variables altogether predicted total moderation practices, spending, time management, moderation consuming, and technology and resource utilization with 39%, 43.5%, 16.3%, 13.1%, and 26.1% respectively. The important predictors were the favorable attitude towards moderation practices as sufficiency economy and the receiving moderation information from media.

Key word: The practices as sufficiency economy, moderation practice, sufficiency model school

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุทางจิตสังคมที่ประกอบด้วยปัจจัยด้านสถานการณ์ จิตลักษณะเดิม และจิตลักษณะตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 447 คน ใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น ผลการวิจัยพบว่า 1) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทของโรงเรียนและลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ที่มีต่อการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการใช้เวลาอย่างพอประมาณ และด้านการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีอย่างพอประมาณ 2) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนและการได้รับการถ่ายทอดทางสังคมด้านความพอประมาณจากครอบครัว ที่มีต่อการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณในด้านรวม ด้านการใช้จ่ายอย่างพอประมาณ ด้านการใช้เวลาอย่างพอประมาณ และด้านการบริโภคอาหารอย่างพอประมาณ 3) พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิต และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับความพอประมาณจากสื่อ ที่มีต่อการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณในด้านรวม ด้านการใช้จ่ายอย่างพอประมาณ และด้านการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีอย่างพอประมาณ 4) ตัวทำนายร่วม 9 ตัวแปร สามารถทำนายการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณในด้านรวม ด้านการใช้จ่าย ด้านการใช้เวลา ด้านการบริโภคอาหาร และด้านการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีอย่างพอประมาณ ได้ 39%, 43.5%, 16.3%, 13.1% และ 26.1% ตามลำดับ ในกลุ่มรวม โดยตัวทำนายสำคัญ คือ เจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณ และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับความพอประมาณจากสื่อ

 

คำสำคัญ: การปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความพอประมาณ สถานศึกษาพอเพียงแบบอย่าง


Author Biographies

Tassanan Chinsiriphan

Graduate Student, Master degree in Applied Behavioral Science Research, Srinakharinwirot University

E-mail: tass_no2@hotmail.com, Tel. 668-9864-1138


Ungsinun Intarakhamhang

Associate Professor in Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University

Wichuda Kijtorntham

Lecturer in Behavioral Science Research Institute, Srinakharinwirot University

Downloads

Published

2013-01-04

How to Cite

Chinsiriphan, T., Intarakhamhang, U., & Kijtorntham, W. (2013). Psychosocial Factors Related to Mathayomsuksa 3 Students’ Moderation Practices as Sufficiency Economy in School with Sufficiency Modelปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสถานศึกษาพอเพียงแบบอย่. Journal of Behavioral Science for Development, 5(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/4704