การพัฒนาคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยการให้การปรึกษาครอบครัวแบบบูรณาการ
Keywords:
risk management consciousness, integrative group counseling model จิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยง, รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการAbstract
The purposes of this research were 1) to study the risk management consciousness of psychiatric nurses, 2) to construct the integrative group counseling model for developing risk management consciousness of psychiatric nurses, and 3) to evaluate the effectiveness of integrative group counseling model for developing the risk management consciousness of psychiatric nurses.The subjects were divided into 2 groups. The first group of risk management consciousness study consisted of 300 psychiatric nurses of the Mental Health Department, Ministry of Public Health. The second group consisted of 24 psychiatric nurses of Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry. This second group was purposively selected from the psychiatric nurses whose risk management consciousness scores were low and volunteered to attend the experiment. They were then randomly assigned into two groups, classified as an experimental group and a control group. Each group consisted of 12 psychiatric nurses. The experimental group participated in the integrative group counseling while the control group did not receive any counseling. The research instruments were 1) the risk management consciousness scale with reliability coefficient (alpha) of 0.956 and its construct validity was confirmed through factor analysis, and 2) the integrative group counseling model for developing the risk management consciousness with the IOC from 0.80-1.00. The data were analyzed by mean, standard deviation, confirmatory factor analysis, one-way ANOVA repeated measurement and two-way repeated ANOVA measurement.
The research results were as follows:
1. The risk management consciousness of psychiatric nurses was six dimensions 1) awareness 2) perception 3) intention 4) reason 5) responses and 6) control.
2. The total score and each dimension score of the risk management consciousness of the experimental group after participating in the integrative group counseling and after the follow up were significantly higher than before participating in the integrative group counseling at .05 level.
3. The total score and each dimension score of the effective risk management consciousness of the experimental group after participating in the integrative group counseling and after the follow-up were significantly higher than that of the control group at .05 level.
Key words: risk management consciousness, integrative group counseling model
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาจิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลจิตเวช 2) เพื่อสร้างรูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาจิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยง 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการในการพัฒนาจิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 300 คน เป็นกลุ่มที่ใช้ในการศึกษาจิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลจิตเวช กลุ่มที่ 2 เป็นพยาบาลจิตเวชที่ปฏิบัติงานในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่มีคะแนนจิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยงต่ำ จำนวน 24 คน โดยกลุ่มที่ 2 นี้ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากพยาบาลจิตเวชที่มีคะแนนน้อยสุดถึงคนที่ 24 และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง แล้วใช้การสุ่มเข้ากลุ่ม เป็น 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาจิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยง ส่วนกลุ่มควบคุมให้เป็นไปตามสภาพปกติ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดจิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลจิตเวช มีค่าความเที่ยงตรงโดยรวมเท่ากับ 0.956 และความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ 2) รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อจิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลจิตเวชมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence : IOC) ตั้งแต่ 0.80 – 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way ANOVA Repeated Measurement) การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-way Repeated ANOVA Measurement)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. จิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลจิตเวช มี 6 องค์ประกอบ คือ ด้านการตระหนักรู้ในการจัดการความเสี่ยง ด้านการรับรู้สิ่งต่างๆ ในเหตุการณ์ความเสี่ยงตามความเป็นจริง ด้านการให้ความสนใจในการจัดการความเสี่ยงอย่างมีเป้าหมาย ด้านการตอบสนองต่อเหตุการณ์ความเสี่ยง ด้านการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์เพื่อจัดการความเสี่ยง และด้านการควบคุมพฤติกรรมในการจัดการความเสี่ยง
2. จิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลจิตเวชกลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการและหลังการติดตามผล เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. จิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลจิตเวชกลุ่มทดลอง หลังเข้าร่วมการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ และหลังการติดตามผล เพิ่มขึ้นกว่าจิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลจิตเวชกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: จิตสำนึกในการจัดการความเสี่ยง, รูปแบบการให้การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ