ความตาย ความเสี่ยง และผลกระทบต่อการตัดสินใจแข่งรถจักรยายนต์บนถนนหลวงของเด็กและเยาวชน การถอดบทเรียนจากโครงการถนนปลอดภัยจากรถซิ่ง ปี พ.ศ.2547

Authors

  • กนกพร กันทา
  • ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์

Keywords:

Juvenile, Death, Risk, Illegal speed racing เด็กและเยาวชน, ความตาย, ความเสี่ยง, การแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนหลวง

Abstract

This study’s objectives are to learn about death learning process and the risk with decision – making on illegal speed racing of juveniles and to study the aspects of ones who are culprits. Document review and qualification research method (using in-depth interview technique) were used in order to run this study. The sample groups are 7 juveniles who misbehaved to “the road safety and speed control project”, Ministry of Justice, Thailand.

The research found that juveniles decided to race on the public highway because of the lack of social areas which were from both family and school violence that had made them not to be accepted from society. When they had been introduced to get into speed racing gang where they would get a lot of benefits such as acceptance and respect from others, opposite sex’s interest, and a lot of money, these rewards were worthwhile enough for them to take a risk of illegal performance, even though, they had been learning about the death from their own experience and others’.

The aspects of culprits who misbehaved to “the road safety and speed control project” revealed that the content of this project had never affected their thoughts and feelings of taking the risk on illegal speed racing because they had obtained more lessons and experiences than the project gave, or they had time limited in order to unite into the project.

To diminish the number of juveniles who have a role of illegal speed racing, the coordination among family, school, and governments should be considered for the sustainable solutions.

Key words : Juvenile, Death, Risk, Illegal speed racing

 

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้เรื่องความตายและความเสี่ยงกับการตัดสินใจแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนหลวงของเด็กและเยาวชน และศึกษามุมมองด้านผลกระทบของผู้กระทำผิดต่อรูปแบบกิจกรรมในโครงการถนนปลอดภัยจากรถซิ่ง โดยใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เจาะลึกกับเด็กและเยาวชนที่ผ่านการคุมความประพฤติ ในฐานความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ความผิดเกี่ยวกับการแข่งรถในทางและได้เข้าร่วมโครงการ “ถนนปลอดภัยจากรถซิ่ง” ของสำนักงานคุมประพฤติ กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม จำนวน 7 ราย เพื่อนำมาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลแบบตีความ และสร้างข้อสรุปด้วยวิธีการอุปนัย

ผลการศึกษาพบว่า การตัดสินใจแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนหลวงของเด็กและเยาวชนเป็นผลมาจากการขาดพื้นที่ทางสังคม ทั้งจากในครอบครัวของตนเองที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และสังคมในสถานศึกษา ผลจากการไม่ตั้งใจเรียน ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับ เมื่อได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนหลวง เด็กและเยาวชนได้มีกระบวนการตัดสินใจแข่งรถจักรยานยนต์โดยพิจารณาจากตัวอย่างการแข่งขันของผู้แข่งรถจักรยานยนต์บนถนนหลวงรายอื่นๆ และพบว่าผลตอบแทนที่ได้จากการเข้าร่วมแข่งขัน ได้แก่ การได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่นๆ การได้รับความสนใจจากเพศตรงข้าม การได้รับความยำเกรงจากคู่แข่ง และเงินรางวัลที่ได้รับจำนวนมาก ซึ่งผลตอบแทนคุ้มค่าเพียงพอที่จะเสี่ยงต่อการกระทำความผิด แม้เด็กและเยาวชนจะเรียนรู้เรื่องความเสี่ยงและความตายจากประสบการณ์ส่วนตัวจากการแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนหลวง หรือจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลใกล้ชิด แต่ก็มิได้ทำให้เกิดความเกรงกลัวแต่อย่างใด เด็กและเยาวชนจึงเข้าร่วมการแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนหลวง ส่วนมุมมองด้านผลกระทบของผู้กระทำผิดต่อรูปแบบกิจกรรมในโครงการถนนปลอดภัยจากรถซิ่งนั้นพบว่า เนื้อหาของโครงการไม่มีผลต่อความคิดและความรู้สึกเกี่ยวกับการตัดสินใจแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนหลวงของเด็กและเยาวชน เนื่องจากเด็กและเยาวชนได้ผ่านประสบการณ์และบทเรียนชีวิตที่มากกว่าเนื้อหาของโครงการ รวมถึงข้อจำกัดด้านเวลาในการเข้าร่วมโครงการอีกด้วย

ดังนั้น การจัดการปัญหาการแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนหลวงของเด็กและเยาวชน ควรได้รับการร่วมมือทั้งจากครอบครัว โรงเรียน รวมไปถึงภาครัฐ เพื่อให้เกิดแนวทางทางแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคตได้

คำสำคัญ: เด็กและเยาวชน, ความตาย, ความเสี่ยง, การแข่งรถจักรยานยนต์บนถนนหลวง

Downloads

How to Cite

กันทา ก., & ศรีรัตนบัลล์ ภ. (2011). ความตาย ความเสี่ยง และผลกระทบต่อการตัดสินใจแข่งรถจักรยายนต์บนถนนหลวงของเด็กและเยาวชน การถอดบทเรียนจากโครงการถนนปลอดภัยจากรถซิ่ง ปี พ.ศ.2547. Journal of Behavioral Science for Development, 3(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/424