สินค้าสัญลักษณ์ในพื้นที่เคลื่อนไหวทางการเมือง

Authors

  • ศุจิกานต์ วทาทิยาภรณ์

Keywords:

a symbolic commodity, identity สินค้าสัญลักษณ์, อัตลักษณ์

Abstract

This research aims to understand the initiation of symbolic commodity and the symbolic commodity market occurred in the social movement group. Also, the process of creating the shared identity and the social condition via the interpretation of symbolic commodity are studied in this research. This study employs a qualitative research which is the in-depth interview of 14 key informants.

In addition, this research explains the complex phenomenon of the social movement and also involves with the supporters. The activities of the supporters, via the implicit meaning of commodity sold in the protest area, are studied in this research as well.

The empirical results show that the commodities, specifically produced in the protest area and leading to the special management process of commodity market which relates to the political movement, are the new phenomenon for Thai community, that is, the commodities become the instruments in participating in the political alliance. The commodities and the political speeches have the important impacts in both political and economic aspects, and also support the finance of the People.

For the aspect of identity, the commodities implicitly represent the people who support the political activity, to inform the people outside the alliance to acknowledge the political participation of the People supporters. On the other hand, the supporters also acknowledge the implicit representative of the outsiders. They acknowledge each other via the different clothes and different symbolic representatives of both sides.

This study also found that, for the aspect of social condition in interpreting symbolic commodity, people which possess different roles and status have different interpretation and appreciation to the commodities. The people who have political belief appreciate and value the commodities as the unity of their political alliance. In contrary, the people who have no belief in politics see the commodities as the exciting souvenirs with no mental value.

Key words : a symbolic commodity, identity

 

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการกำเนิดสินค้าและตลาดสินค้าสัญลักษณ์ในขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมทั้งกระบวนการสร้าง “อัตลักษณ์ร่วม” ของกลุ่มผู้ชุมนุมผ่านสินค้าสัญลักษณ์ และบริบทเงื่อนไขทางสังคมต่อการให้ความหมายของสินค้าสัญลักษณ์ งานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 คน

งานวิจัยชิ้นนี้ได้มุ่งที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางด้านการเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีความซับซ้อน เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหว และภาพสะท้อนการเข้าร่วมผ่านการอธิบายของตัวสินค้าที่ปรากฏในพื้นที่การชุมนุม

ผลการวิจัยพบว่า สินค้าเกิดขึ้นท่ามกลางการชุมนุมและนำไปสู่ตลาดสินค้าที่มีระบบการจัดการเฉพาะพิเศษที่มีเงื่อนไขทางด้านการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของสังคมไทยที่มีสินค้าเข้ามาเป็นเครื่องมือในการรวมกลุ่มทางด้านการเมือง โดยสะท้อนผ่านสินค้าและผลิตวาทกรรมต่างๆ ที่มีพลานุภาพทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่ส่วนหนึ่งเป็นฐานทางด้านการเงินของการเคลื่อนไหว

มิติทางด้านอัตลักษณ์ สินค้าเป็นเสมือนตัวแทนของกลุ่มที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยบ่งบอกให้คนภายนอก (กลุ่ม) รับทราบ และภายในกลุ่มก็ยอมรับการให้ภาพสะท้อนของกลุ่มคนข้างนอก โดยผ่านการปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ที่ต่างคนต่างรับรู้ซึ่งกันและกัน โดยทางกลุ่มใช้ “สินค้า” เป็นสัญลักษณ์ในการแสดงออกซึ่งความสัมพันธ์ต่างๆ และใช้แสดงตน จะเห็นได้จากการสวมใส่เสื้อผ้า การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีร่วมกันภายในกลุ่ม

ในเรื่องของบริบทเงื่อนไขทางสังคมต่อการให้ความหมายของสินค้าสัญลักษณ์ พบว่าบทบาทและสถานภาพที่ต่างกันอาจมีการให้ความหมายและคุณค่าต่างกัน กลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องจะให้ความหมายและคุณค่าในตัวของสินค้าในแง่ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกลุ่ม แต่สำหรับกลุ่มคนที่ไม่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องจะให้ความหมายในตัวสินค้าเป็นเพียงของที่ระลึกที่ให้ความตื่นตาตื่นใจ แต่ไม่ได้มีคุณค่าทางจิตใจ

คำสำคัญ: สินค้าสัญลักษณ์, อัตลักษณ์

Downloads

How to Cite

วทาทิยาภรณ์ ศ. (2011). สินค้าสัญลักษณ์ในพื้นที่เคลื่อนไหวทางการเมือง. Journal of Behavioral Science for Development, 3(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/422