ตลาดแบกะดิน กรณีศึกษา อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร

Authors

  • ชวิตรา ตันติมาลา

Keywords:

Market, Roadside Stand, Economic Anthropology, Victory Monument ตลาด, แบกะดิน, มานุษยวิทยาเศรษฐกิจ, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

Abstract

The objectives of thesis are to study the evolution of roadside stand market, explain the relationships of people in the roadside stand market including producer, seller and consumer until the relationship between people and products and find the meaning of roadside stand market and product by understanding of people in the market based on the fundamental of economy, social and culture. The thesis emphasized on field work, studying the interaction of people in a market, explaining contexts by using economic anthropology, approaching the relationship by using the qualitative research, sticking in the target area, perceiving community and people as they are which are the most important factor to be a methodologist with combining an Idea, theories and related researches to analyze the collective data.

The methodology used here including site surveys, market observation in each period of time over 2 years of study, observing market evolution, market change and taking note with in-depth interviews and group interviews. According to the result of the study, the origin of a roadside stand market has been discovered in the factor of a mass transportation. Obviously, the victory monument is a center of transportation in Bangkok and perimeter that has a huge traffic of different kind of people such as working people, immigrants etc. because it provides many ways to take your own convenient vehicle, for instance, buses , BTS sky-train, vans service and many choices of transportation. These are related factors to make an economic characteristic, group of diversified people and finally develop to a market.

The results of a roadside stand market at the victory monument found that the trading has an informal action and not be permanent, therefore, the close relationship between buyer and seller and also enough quantity of members are needed to make a market keep strong and existing. On the other hand, most of the sellers in a roadside stand market have relationship with their products, for example, handmade products or collections or second-hand products are sold and/or exchanged with whom has the same interests. As consumer satisfy the appropriate market time between 10 pm. to 1 am. That is their relax time. Moreover, the market also takes place at night time bringing a colorful atmosphere with amazing and unique products which are truly really hard to find in any other place in the world.

Key words: Market, Roadside Stand, Economic Anthropology, Victory Monument

 

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาหาความหมายของตาดแบกะดินและสินค้าต่างๆ ตามความเข้าใจของคนในตลาดในแง่ของพื้นที่ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ศึกษากระบวนการเกิดขึ้นของตลาดแบกะดิน ความสัมพันธ์ของคนในตลาดแบกะดิน ทั้งผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้บริโภค และความสัมพันธ์ของคนกับสินค้า รวมทั้งอธิบายโดยเน้นการลงภาคสนาม ศึกษาปฏิสัมพันธ์ของคนในตลาดและอธิบายตามแนวทางมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ การเข้าถึงความสัมพันธ์และความคิดของคนต้องอาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การฝังตัวในพื้นที่ การเข้าใจชุมชนและคนในชุมชนในแบบที่เขาเป็น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นนักมานุษยวิทยา ประกอบกับการใช้แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล

วิธีการศึกษาคือ สำรวจพื้นที่และสังเกตความเป็นไปของตลาด และตลาดในแต่ละช่วงเวลา เป็นเวลามากกว่า 2 ปี ใช้วิธีการสังเกตพัฒนาการ ความเปลี่ยนแปลง และจดบันทึกเพื่อประกอบการวิเคราะห์ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ขายแบบเจาะลึก จำนวน 3 ราย และสนทนากลุ่มหลายครั้ง ผลจากการศึกษาพบว่า การขายของในลักษณะแบกะดินมีปัจจัยประกอบ คือ บริเวณย่าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นศูนย์กลางการเดินทางภายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีคนสัญจรผ่านไปมาจำนวนมาก จึงมีทั้งคนทำงานและคนย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ได้ง่าย เพราะมีบริการรถโดยสารจำนวนมาก อีกทั้งยังมีสถานีรถไฟฟ้า BTS ซึ่งมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่ม และพัฒนาจนกลายเป็นตลาด

ผลการศึกษาตลาดแบกะดินบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินี้ให้ความสำคัญกับการอธิบายความหมายของตลาดแบกะดินในมุมมองของคนในตลาดเป็นหลัก พวกเขามองว่าการมาตลาดไม่ได้เพียงเพื่อค้าขาย หรือหากำไรที่เป็นตัวเงิน แต่การมาตลาดเป็นการเติมเต็มความต้องการของพวกเขา เป็นส่วนหนึ่งที่มีความหมายในการดำรงชีวิต นอกจากนั้น การดำรงอยู่ของตลาดในลักษณะนี้มีพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นทางการ ไม่ถาวร จึงต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายแบบใกล้ชิด ซึ่งต้องมีการรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนพอสมควรเพื่อสร้างความมั่นคงของตลาดขึ้นเอง อีกทั้งผู้ขายส่วนใหญ่ในตลาดแบกะดินแห่งนี้มีความสัมพันธ์กับสินค้าที่ตนขาย เช่น เป็นของทำมือที่ผลิตขึ้นเองหรือเป็นของสะสมและของมือสองของตนเอง ต้องการนำมาขายและแลกเปลี่ยนกับผู้ที่มีความสนใจเดียวกัน ซึ่งผู้บริโภคเองก็พึงพอใจกับการเกิดขึ้นของตลาดในช่วงเวลาที่เหมาะสม คือเวลาประมาณ 22.00 – 01.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน ตลาดได้สร้างสีสันในยามค่ำคืนไม่ให้เงียบเหงา อีกทั้งยังได้พบสินค้าที่แปลกตา หาซื้อได้ยากและไม่เหมือนใครอีกด้วย

คำสำคัญ: ตลาด, แบกะดิน, มานุษยวิทยาเศรษฐกิจ, อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

Downloads

Published

2011-09-28

How to Cite

ตันติมาลา ช. (2011). ตลาดแบกะดิน กรณีศึกษา อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร. Journal of Behavioral Science for Development, 3(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/416