แองเจิ้ล แก๊งสตา : อัตลักษณ์และการใช้เวลาว่างของผู้หญิงแต่งรถ

Authors

  • นัชชา เตชเลิศวิภาพ

Keywords:

car modifying, club, team แต่งรถ, คลับ, ทีม

Abstract

 The objectives of this research are to study the factor caused the ladies select the leisure of car modifying, to perceive the process of car modifying in ladies, to identity of ladies with car modifying herself. This is the qualitative research by using participation observation, informal interview and in-depth interview from Angel Gangsta 6 persons.

The result of the research found that the factor of car modifying in ladies begun from a falling in love with the leisure of car modifying of close person, for example, friends, lover or a member in family which dominate and motivate them to be interested in car modifying by assimilating until become the favorite activity.

The process of car modifying in ladies originated in searching information through the internet. Life style or the pattern of car modifying has duplicated from Japan that car modifying emphasize on external decoration on a car’s body to increase its beautifulness. In additional, the money that is brought to buy accessories or spare parts is collected by themselves. In the cases of ones are too expensive, they have to lend a hand from their parent or boyfriend.

The identity of ladies with car modifying is to change the color of the car in a fancy, outstanding, and weird color including established the lady-racing team which make their team more obvious identity by team sticker. Also built an individual identity or a group identity in order to be interested from society especially in motorsport.

In the conclusion from the research, besides to be a transportation, car is use to show the economic and social status of the owners. Moreover, it is related to lifestyle and taste of drivers from the leisure through their cars. In addition to the car modify activity is no longer for men but nowadays women approach to this activity too, they try to make self and group identity which is new phenomenon in society, their individual identity of car modifying pattern is emphasized by creating social identity.

Key words : car modifying, club, team

 

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงเลือกการแต่งรถเป็นกิจกรรมในเวลาว่าง ตลอดจนศึกษาความเข้าใจกระบวนการแต่งรถของผู้หญิง และศึกษาอัตลักษณ์ของผู้หญิงผ่านการแต่งรถของตนเอง รูปแบบการวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากการศึกษาครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มแองเจิ้ล แก๊งสตา จำนวน 6 คน

ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงเลือกการแต่งรถเป็นกิจกรรมในเวลาว่างเริ่มต้นจากการซึมซับความชอบของบุคคลใกล้ชิด เช่น แฟน เพื่อน หรือครอบครัว ซึ่งมีอิทธิพลและเป็นผู้สร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจสนกิจกรรมแต่งรถ โดยถ่ายทอดและส่งผ่านมาจนกลายเป็นความชอบส่วนตัว ผู้หญิงเลือกทำกิจกรรมแต่งรถเพื่อสนองความต้องการและความพึงพอใจ ซึ่งการแต่งรถเป็นกิจกรรมที่สร้างอัตลักษณ์ของตนเองผ่านยานพาหนะ และสร้างเอกลักษณ์เฉพาะให้กับรถ

กระบวนการแต่งรถของผู้หญิงเริ่มต้นจากการค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต โดยรูปแบบของการแต่งรถเป็นการเลียนแบบรถของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการแต่งรถจะเน้นตกแต่งที่ภายนอกตัวรถเป็นสำคัญ เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับตัวรถ ในส่วนของเงินที่นำมาซื้ออุปกรณ์ตกแต่งจะเป็นเงินที่ตนเองทำการเก็บสะสมไว้ ยกเว้นกรณีที่ราคาสินค้าสูง จะขอความช่วยเหลือจากแม่หรือแฟน

อัตลักษณ์ที่ผู้หญิงสร้างขึ้นผ่านการแต่งรถ คือ การทำสีรถให้แปลกและสะดุดตา รวมไปถึงการรวมกลุ่มตั้งทีมเฉพาะผู้หญิงขึ้นโดยมีสติ๊กเกอร์ของทีมเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้อัตลักษณ์ของกลุ่มเด่นชัดขึ้น การสร้างอัตลักษณ์ของตนเองรวมไปถึงกลุ่มเพื่อให้เป็นที่สนใจของสังคมโดยเฉพาะในวงการแต่งรถ

จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า รถยนต์ในปัจจุบันไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่เป็นยานพาหนะแต่ยังบ่งบอกถึงฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมรวมไปถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตและรสนิยมของแต่ละคนจากการทำกิจกรรมในเวลาว่างผ่านรถของตนเอง นอกจากนี้กิจกรรมการแต่งรถเป็นกิจกรรมของผู้ชายที่ผู้หญิงได้ก้าวข้ามและพยายามสร้างตัวตนของตนเองและกลุ่มซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของสังคมโดยการสร้างอัตลักษณ์ระดับปัจเจกผ่านรูปแบบการแต่งรถถูกตอกย้ำให้เด่นชัดขึ้นโดยการสร้างอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่ม

คำสำคัญ: แต่งรถ, คลับ, ทีม

Downloads

Published

2011-09-27

How to Cite

เตชเลิศวิภาพ น. (2011). แองเจิ้ล แก๊งสตา : อัตลักษณ์และการใช้เวลาว่างของผู้หญิงแต่งรถ. Journal of Behavioral Science for Development, 3(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/355