ผลการใช้กิจกรรมตามรูปแบบ BRAIN Model เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัว และการเห็นคุณค่าในตนเองของเยาวชนที่ถูกคุมประพฤติ

Authors

  • ปาจรีย์ ติ้วสิขเรศ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • รัตนา นฤภัทร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำกลุ่มวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

Abstract

Effect of BRAIN Model on a Family Relationship and Self-Esteem of Probation Youths

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมตามรูปแบบ BRAIN Model ที่มีต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวและการเห็นคุณค่าในตนของเยาวชนที่ถูกคุมประพฤติ  ดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ  กลุ่มเป้าหมาย คือ   เยาวชนที่ถูกคุมประพฤติจากหน่วยงานสถานพินิจและครอบครัวของเยาวชน  เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ กิจกรรมจิตตปัญญาตามรูปแบบ BRAIN Model  การเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์  วิเคราะห์ชิ้นงาน  วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างข้อสรุปอุปนัย (Inductive) จากพฤติกรรมที่แสดงออก ชิ้นงาน บทสัมภาษณ์ ของเยาวชนและผู้ปกครองระหว่างทำกิจกรรมและ ภายหลังจากจัดกิจกรรม ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมที่จัดขึ้นตามแนวทางจิตตปัญญาด้วยรูปแบบ BRAIN Model  สามารถส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ 2) การเห็นคุณค่าในตนเองของเยาวชนมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมจิตตปัญญาด้วยรูปแบบ BRAIN Model

คำสำคัญ:การเห็นคุณค่าในตนเอง ความสัมพันธ์ในครอบครัว จิตตปัญญาศึกษา                              เยาวชนที่ถูกคุมประพฤติ

Downloads

Published

2015-01-31

How to Cite

ติ้วสิขเรศ ป., & นฤภัทร ร. (2015). ผลการใช้กิจกรรมตามรูปแบบ BRAIN Model เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัว และการเห็นคุณค่าในตนเองของเยาวชนที่ถูกคุมประพฤติ. Journal of Behavioral Science for Development, 7(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/29921