กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ: กรณีศึกษานักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มืออาชีพเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Authors

  • ณัฐพงษ์ (Nutthapong) ธรรมรักษาสิทธิ์ (Thammaruksasit) นิสิตระดับมหาบัณฑิตบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ฐาศุกร์ (Thasuk) จันประเสริฐ (Janprasert) อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อังศินันท์ (Ungsinun) อินทรกำแหง (Intarakamhang) รองศาสตราจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

The Professional Socialization : Case Study of Professionals Industrial Designers to Support ASEAN Economic Community

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพของนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมืออาชีพ ทั้งก่อนเข้าสู่วิชาชีพ ระหว่างอยู่ในวิชาชีพ และ ระยะมั่นคงทางวิชาชีพ 2) ศึกษาลักษณะของเอกลักษณ์เชิงวิชาชีพของนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการมีเอกลักษณ์เชิงวิชาชีพและ3) ค้นหาแนวทางในการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพสำหรับพัฒนานักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับกับสถานการณ์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษาเฉพาะกรณี โดยเลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง ได้แก่ นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมืออาชีพ จำนวน 9 ราย นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จำนวน 4 ราย และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ราย ผลการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 พบว่า ชีวิตในวัยเด็กช่วยบ่มเพาะคุณลักษณะสำคัญและความเชื่อที่ส่งผลต่อการเป็นนักออกแบบฯและในกระบวนการการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพพบว่ามีตัวแทนในการถ่ายทอดที่สำคัญ เช่น อาจารย์ รุ่นพี่และเพื่อน รวมถึงกลุ่มสื่อมวลชน กลุ่มลูกค้า และผู้ผลิต เป็นต้นเนื้อหาของการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพส่วนใหญ่เป็นความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน เช่น ทักษะในการทำงาน เป็นต้น และพบว่ากลวิธีของการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพส่วนใหญ่เป็นการถ่ายทอดที่ไม่เป็นทางการเช่นการวิจารณ์งาน เป็นต้น รวมถึงกลวิธีแบบมีตัวแบบทั้งการแสดงตัวอย่างให้ดู และการสังเกตจากตัวแบบความและมั่นคงเชิงวิชาชีพมีเงื่อนไขจากตัวบุคคลและสภาพแวดล้อมเช่น ความรักในการออกแบบฯการได้รับการยอมรับจากผู้ใช้สินค้าเป็นต้นผลการศึกษาส่วนที่ 2 พบว่าลักษณะของเอกลักษณ์เชิงวิชาชีพประกอบด้วย มีจินตนาการสูงสามารถมองเห็นภาพในอนาคต มีความรอบรู้มีความสามารถในการปรับตัวช่างสังเกตช่างสงสัย มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความสามารถในการวิเคราะห์เชื่อมโยง มีความสามารถในการประนีประนอม โดยเกิดจาก “ความคาดหวังของทักษะเพื่อการทำงาน” และผลการศึกษาส่วนที่ 3 พบว่าแนวทางในการพัฒนานักออกแบบฯเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การพัฒนาคุณลักษณะส่วนบุคคล การพัฒนาความเชี่ยวชาญในการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการพัฒนาเพื่อเพิ่มโอกาสจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

คำสำคัญ:การถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ เอกลักษณ์เชิงวิชาชีพ นักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม


Downloads

Published

2015-01-31

How to Cite

ธรรมรักษาสิทธิ์ (Thammaruksasit) ณ. (Nutthapong), จันประเสริฐ (Janprasert) ฐ. (Thasuk), & อินทรกำแหง (Intarakamhang) อ. (Ungsinun). (2015). กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมเชิงวิชาชีพ: กรณีศึกษานักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มืออาชีพเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. Journal of Behavioral Science for Development, 7(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/29919