กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Abstract
Self-Regulated Learning strategies of 21st century
บทคัดย่อ
การกำกับตนเองในการเรียนรู้ เป็นพฤติกรรมที่มีฐานความรู้มาจากแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social cognitive theory) มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้พฤติกรรมภายในเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อควบคุมพฤติกรรมภายนอก ซึ่งเกิดขึ้นโดยผ่านการดำเนินการของตนเองและแหล่งอิทธิพลภายนอก รวมถึงกรอบของแรงจูงใจ สังคมและคุณธรรม จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การกำกับตนเองในการเรียนรู้ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จึงมีความสำคัญที่ควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติเพื่อปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม การกำกับตนเองในการเรียนรู้ และกลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้งที่เป็นแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการกำกับตนเองในการเรียนรู้ รวมทั้งให้ความสำคัญในด้านครูผู้สอนซึ่งถือเป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อนักเรียน นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลสำหรับครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจที่จะศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจในพฤติกรรมการกำกับตนเองในการเรียนรู้และแนวทางการส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมการกำกับตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น
คำสำคัญ:การกำกับตนเองในการเรียนรู้ กลวิธีการกำกับตนเองในการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม