รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของครูโดยใช้สุนทรียแสวงหา
คำสำคัญ:
สมรรถนะด้านการวิจัย, การพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของครู, สุนทรียแสวงหาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของครูโดยใช้สุนทรียแสวงหา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยใช้แนวคิดสุนทรียแสวงหามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อดำเนินการวิจัยกับ 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดกลาง ทั้งนี้ ในแต่ละโรงเรียนมีการดำเนินการ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างสมรรถนะด้านการวิจัย และระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านการวิจัย ซึ่งแต่ละระยะมีกระบวนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การค้นหา 2) การสร้างฝัน 3) การออกแบบ และ 4) การทำให้ถึงเป้าหมาย ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการการสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะด้านการวิจัยมีทั้งสิ้น 5 สมรรถนะหลัก คือด้านทักษะ ด้านความรู้ ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับตนเอง ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล และด้านแรงจูงใจ จากสมรรถนะหลักทั้ง 5 จึงนำไปสู่การพัฒนาทั้งสิ้น 16 สมรรถนะย่อยตามการเลือกของผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ปัญหาและผลการวิจัย 2) ทักษะการแก้ปัญหา 3) ทักษะการสังเกตพฤติกรรม 4) ทักษะการสืบค้นข้อมูล 5) ความรู้ด้านรูปแบบการเขียนรายงานการวิจัย 6) ความรู้ด้านกระบวนการวิจัย 7) ความเข้าใจต่อสาเหตุและความแตกต่างรายบุคคล 8) ความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอน 9) ความอดทนมุ่งมั่น 10) ช่างสังเกตและตั้งคำถาม 11) กล้าตัดสินใจและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 12) ความรับผิดชอบต่อผลกระทบ 13) ความรับผิดชอบต่องาน 14) รักในการแสวงหาความรู้ 15) ด้านแรงจูงใจเรื่องความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จในการพัฒนาตนเองและผลงาน 16) ด้านแรงจูงใจเรื่องการเอาใจใส่กับทุกงาน ทั้งนี้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำวิจัยของครูโดยใช้สุนทรียแสวงหา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ค้นหาประสบการณ์ 2) ร่วมตั้งเป้าหมาย 3) คัดเลือกแนวทางที่ดี และ 4) สะท้อนผลการเรียนรู้
References
Bada, S. O. (2015, November-December). Constructivism learning theory: A paradigm for teaching and learning. Journal of Research & Method in Education, 5(6), 66-70.
Cockell, J., & McArthur-Blair, J. (2012). Appreciative Inquiry in Higher Education: A Transformative Force. Jossey-Bass.
Cooperrider, D. L., Whitney, D., & Stavros, J. (2003). Appreciative Inquiry Handbook: The First in a Series of AI Workbooks for Leaders of Change. Berrett-Koehler.
Hummel, C. D. (2007). Use Appreciation Inquiries to Describe and Create Teacher Peaks. [Doctoral dissertation]. Wichita State University, United States.
Ketsang, P. (2016). Kānwičhai patibatkān [Laboratory research]. Printing Press of Chulalongkorn University.
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development, Prentice Hall.
McClelland, D. C. (1993). Intelligence is not the best predictor of job performance. Current Directions in Psychological Science, 2(1), 5-6.
Muijeen, K. (2016, October-December). Kānsāng khwām suk dūai čhittawitthayā chœ̄ng būak [Creating happiness through positive psychology], Journal Science and Technology, 24(4), 673-681.
Office of the Basic Education Commission. (2010). Khūmư̄ pramœ̄n samatthana khrū (chabap prapprung) [Teacher Competency Assessment Manual (Revised version)]. http://www.tw-tutor.com/downloads/competency.pdf
Pathumanan, W. (2016, September-December). Kānphatthanā rūpbǣp kānrīanrū tām nǣokhit suntharīya sāthok phư̄a sœ̄msāng kānbō̜rihān čhatkān tonʻēng khō̜ng phūsūngʻāyu nai khēt Krung Thēp Mahā Nakhō̜n [The development of a learning model according to the aesthetic concept to enhance self-management of the elderly in Bangkok]. Silpakorn University Journal, 9(3), 857-870.
Pliansiri, P. (2012). Kānprayukchai suntharīya sāthok phư̄a phatthanākara būan kān sư̄pthō̜t tamnǣng phū nam nai chumchon thī mī ʻattalak thāng chāttiphan : Kō̜ranī sưksā chumchon bān mǣ khō̜ng sāi ʻamphœ̄ chīangdāo čhangwat Chīang Mai [The application of aesthetics to develop the succession process in Communities with Ethnic Identity: A Case Study of Ban Mae Khong Sai Community Chiang Dao District Chiang Mai Province] [Master of Science Thesis]. National Institute of Development Administration, Bangkok.
Seligman, M. E. P. (2011). Flourish: A visionary new understanding of happiness and well-being, Atria Books.
Sotthayakom, P. (2017). Kānwičhai phư̄a phatthanā khrū phū nam kān rīan kānsō̜n dōi chai suntharīya sawǣng hā khō̜ng rōngrīan nai sangkat samnakngān khēt phư̄nthī kānsưksā prathom sưksā Phra Nakhō̜n Sī ʻAyutthayā khēt nưng [Research to develop teachers who are teaching and learning using aesthetics Schools under the Office of Ayutthaya Primary Educational Service Area 1] [Doctor of Philosophy Thesis]. Behavioral Science Research Institute Srinakharinwirot University, Bangkok.
Tantiwiwat, S. (2017). Čhittawitthayā chœ̄ng būak : kānphatthanā kān prayuk læ khwām thāthāi [Positive psychology: Development, Applications, and Challenges], Journal of behavioral science for development, 9(1), 276-290.
Teacher Development Institute Faculty and educational personnel. (2007). Ekkasān prakō̜p kānphatthanā laksūt phatthanā phū nam kān plīanplǣng phư̄a rō̜ng rap kārok ra čhā yaʻam nā čhō̜ samrap phūbō̜rihān kānsưksā læ phūbō̜rihān sathān sưksā [Documentation for curriculum development to develop transformational leaders to support decentralization for education administrators and school administrators]. (n.p.).
Tosati, S. (2014). Kānsāng sœ̄m kān rūčhak tonʻēng phư̄a kānphatthanā tonʻēng khō̜ng nakrīan dōi chai krabūankān sư̄p sō̜p læ kānpramœ̄n bǣp chư̄nchom [Building self-awareness for the self-development of students by using an examination and appreciation assessment process] [Doctor of Education Thesis]. Chulalongkorn University, Bangkok.
Trajkovski, S., Schmied, V., Vickers, M., & Jackson, D. (2013). Using appreciative inquiry to transform health care. Contemporary Nurse, 45(1), 95–100.
Wangdi, S. (2015, July-December). Kānprayukchai suntharīya sāthok phư̄a phatthanā khwām phūkphan nai ʻongkō̜n [Applying aesthetics to improve corporate engagement]. Khon Kaen University Journal College of Graduate Studies in Management, 8(2), 17-38.
Watkins, J. M., Mohr, B., & Kelly, R. (2011). Appreciative inquiry change at the speed of Imagination. Pfeiffer.
Whitney, D., & Trosten-Bloom, A. (2010). The power of appreciative inquiry: A practical guide to positive change. Berrett-Koehler.
Wood, K. D. (2007). Experiences of transformative learning in the appreciative inquiry event [Doctoral Dissertation, Fielding Graduate University, 2007]. Dissertation abstracts international, 68(02). AI Commons. http://appreciativeinquiry.case.edu/research/bibCompletedDissertationsDetail.cfm?coid=10462
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.