ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลังของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • kanokaon netchu

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, พฤฒพลัง, พฤติกรรมเสริมสร้างตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาตัวทำนายพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลังทั้งด้านรวมและด้านย่อยของผู้สูงอายุที่มีลักษณะชีวสังคมต่างๆ ด้วยตัวแปรกลุ่มจิตลักษณะเดิม ลักษณะสถานการณ์ และจิตลักษณะตามสถานการณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ 50 สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดมาตรประเมินรวมค่า 6 ระดับ ที่สร้างขึ้นใหม่ตามนิยามปฏิบัติการและนำแบบวัดอื่นมาปรับปรุง มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ระหว่าง 0.539 ถึง 0.903 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น พบผล ดังนี้ 1) ด้านรวม สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 43.40 มีตัวทำนายที่สำคัญลำดับแรก คือ การมองโลกในแง่ดี 2) ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรม สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 34.50 มีตัวทำนายที่สำคัญลำดับแรก คือ การสนับสนุนจากสังคม 3) ด้านการดูแลตนเองทางสุขภาวะ สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 28.60 มีตัวทำนายที่สำคัญลำดับแรก คือ การมองโลกในแง่ดี 4) ด้านการสร้างความมั่นคง สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 27.70 มีตัวทำนายที่สำคัญลำดับแรก คือ เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลัง ผลการวิจัยนี้ได้ชี้แนะแนวทางการเสริมสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุให้สามารถปฏิบัติตนอันนำไปสู่การมีพฤฒพลังและเป็นพลังสำคัญของสังคม

Author Biography

kanokaon netchu

นิสิตปริญญาโท มศว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-31

How to Cite

netchu, kanokaon. (2019). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสริมสร้างตนเองสู่พฤฒพลังของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 11(2), 98–116. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/186084