Review of teachers’ self-identities under the concept of modern education

Authors

  • มณฑนา พิพัฒน์เพ็ญ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Abstract

ทบทวนอัตลักษณ์แห่งตัวตนของครูภายใต้วิธีคิดของการศึกษาสมัยใหม่

Abstract

 

This research article which is part of a study on learning and creating teachers’ self identities aims to analyze the educational goal that defines a teacher as a practitioner in the educational system, how it affects teachers’ self-identities, and how teachers and stakeholders review teachers’ self-identities controlled by the concept of modern education. Discourse analysis was conducted to show the knowledge creation process, facts about being teachers, monopoly of knowledge dissemination through educational institutions, and authority in assigning self-identity to students.  These are components of being a teacher who can not have freedom in learning and designating their own true self-identities. The findings of the study revealed that education under the idealistic notion of modernization of the country designates teachers’ self-identities as the country’s modernization focuses on producing people to be the workforce and to be modern with industrial concepts.  This reflects the power that oppresses teachers’ self-identities in the form of knowledge, institution, and being experts.  Therefore,                a question to review knowledge, institution, being experts, and being teachers under the concept of modern education has been asked, and it is an important condition leading to knowing the situation, and changing the status of teachers from being people who wait for orders to being   the creators of their own self-identities.

 

Keywords: self-identity, modern education, discourse analysis

 

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการเรียนรู้และสร้างสรรค์อัตลักษณ์แห่งตัวตนของครู       มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เป้าหมายของการศึกษาซึ่งให้ความหมายต่อครูในฐานะผู้ปฎิบัติการในระบบการศึกษาว่าเป็นอย่างไร  ส่งผลต่ออัตลักษณ์แห่งตัวตนของครูอย่างไร และครูรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการศึกษา มีการทบทวนต่ออัตลักษณ์แห่งตัวตนของครูที่ถูกกำกับด้วยวิธีคิดของการศึกษาสมัยใหม่อย่างไร โดยอาศัยวิธีวิทยาการวิเคราะห์วาทกรรม เพื่อแสดงถึงกระบวนการสร้างความรู้ ความจริงเกี่ยวกับความเป็นครู การผูกขาดในการเผยแพร่ความรู้ผ่านสถาบันการศึกษา อำนาจในการกำหนดอัตลักษณ์แก่ผู้เรียน ซึ่งเหล่านี้จะเป็นตัวหล่อหลอมความเป็นครูที่มิอาจมีอำนาจอิสระในการเรียนรู้ และกำหนดอัตลักษณ์แห่งตัวตนของตนเองได้อย่างแท้จริง  ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาภายใต้อุดมการณ์ของการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย เป็นตัวกำหนดอัตลักษณ์แห่งตัวตนของครู ที่มุ่งผลิตคนให้เป็นกำลังแรงงาน ความเป็นคนทันสมัยที่มีโลกทัศน์แบบอุตสาหกรรมเหล่านี้สะท้อนถึงอำนาจที่กดทับต่อตัวตนของครู ซึ่งมาในรูปของความรู้ สถาบัน และความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นการตั้งคำถามเพื่อทบทวนต่อ ความรู้ สถาบัน ความเป็นผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ และความเป็นครูภายใต้วิธีคิดการศึกษาสมัยใหม่จึงเกิดขึ้นและเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำสู่การรู้เท่าทันและปรับเปลี่ยนฐานะ ตำแหน่งของครูจากผู้รอคอยการ     สั่งการไปสู่การเป็นผู้สร้างสรรค์อัตลักษณ์แห่งตัวตนความเป็นครูของตนเอง

 

คำสำคัญ: อัตลักษณ์แห่งตัวตน  การศึกษาสมัยใหม่  การวิเคราะห์วาทกรรม


Downloads

How to Cite

พิพัฒน์เพ็ญ ม. (2014). Review of teachers’ self-identities under the concept of modern education. Journal of Behavioral Science for Development, 6(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/16005