Karen Namtok at Music Khlonglanpattana Sub-district Khlonglan District Kamphaengphet Province

Authors

  • ชินพัฒน์ ไทพาณิชย์ นักศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
  • กาญจนา อินทรสุนานนท์ อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
  • กาญจนา อินทรสุนานนท์ อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

Abstract

ดนตรีกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

Abstract

 

This research aims to study the culture and the music of Karen Nam Tok in Khlonglan pattana sub-district, Khlonglan district, Kamphaengphet province. The research uses                          the ethnomusicology methodology as a way to study. All information is compiled from community, interviewing and analyzing information in fieldwork during May 2012 until April 2013.            The results of this study show that culture and music of Karen Nam Tok are parts of their lives which cannot be separable. From birth to death, their unique rituals can be observed. They believe in supernatural power and house spirits. They also believe that everyone has their own morale which watch over and make their lives happy. So, they have the ritual inviting the protecting spirit to return to the body. Karen Nam Tok has a form of language different from other races. They have the wisdom to use a variety of natural materials in daily life. For example, the roof with Tan leaves, fill water in bamboo tube or build house’s floor and wall with bamboo. Furthermore, they use Pyasatbrrn to make Ter-Nah instrument, weave to make equipment for traditional games with a simple devices.        In a research area, a unique instrument of Karen Nam Tok is Ter-Nah. Ter-Nah is an instrument played since ancient times. It is played for entertaining or making music for couples singing in wedding ceremonies.  Another form of Karen Nam Tok music consists of tom-tom (Poh-Der), cymbals (Jwaa) and gong (Moh). All of them are played for entertaining, gathering people and leading traditional parade ceremony. For the lyrics, they call Tar-Dor-Tor, consisting of many songs (Tar) which have different lyrics. Each song will be sung in proper time. Thus, the culture and the music of Karen Nam Tok in Khlonglanpattana sub-district, Khlonglan district, Kamphaengphet province are descendent heritages indicating      a strength in culture and pride in ethnic of Karen Nam Tok.

 

Keywords: Karen Namtokat, Music of Karen Namtokat, Culture of Karen Namtokat

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัฒนธรรมและดนตรีที่เกี่ยวข้องกับชาวกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน  จังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้วิธีการศึกษาทางมานุษยดุริยางควิทยาเป็นแนวทางการศึกษา เก็บข้อมูลทั้งหมดจากการชุมชน สัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการลงภาคสนามตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2555 จนถึงเดือนเมษายน 2556 ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมและดนตรีของชาวกะเหรี่ยงน้ำตก เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและสังคมชาวกะเหรี่ยงอย่างเหนียวแน่นจนแยกกันไม่ออกตั้งแต่เกิดจนตายเห็นได้จากประเพณีพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ของชนเผ่าที่มีความเชื่อในเรื่องของอำนาจนอกเหนือธรรมชาตินับถือผีบ้านผีเรือน เชื่อในเรื่องของขวัญว่าทุกคนมีขวัญประจำกายที่คอยปกป้องคุ้มครองให้ชีวิตมีความสุขจึงเกิดพิธีกรรมผูกข้อมือเรียกขวัญ  และชาวกะเหรี่ยงน้ำตกยังมีรูปแบบของภาษาที่แตกต่างจากกะเหรี่ยงเผ่าอื่น มีภูมิปัญญาด้านการเลือกสรรวัสดุธรรมชาติมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างหลากหลายเช่นใช้ใบแตนมุงหลังคาบ้านนำกระบอกไม้ไผ่มาใส่น้ำ หรือทำพื้นบ้าน และฝาบ้าน นำต้นตีนเป็ดมาทำเครื่องดนตรีเตอะน่า การทอผ้าด้วยอุปกรณ์ง่ายๆรวมไปถึงการทำอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ          ในพื้นที่วิจัย เครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ของกะเหรี่ยงน้ำตกคือ เตอะน่าซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่โบราณใช้เล่นเพื่อความบันเทิงหรือเล่นประกอบเพลงร้องโต้ตอบในงานแต่งงานดนตรีอีกรูป แบบหนึ่งคือวงกลองยาวที่ประกอบด้วยกลองยาว(ป้อเดอ) ฉาบ(จว้า) โหม่ง(โม่)จะใช้บรรเลงเพื่อการบันเทิงเรียกรวมคน และนำขบวนแห่พิธีทำบุญตามประเพณี สำหรับบทเพลงร้องโต้ตอบชาวกะเหรี่ยงน้ำตกเรียกว่า ทาเดาะเทาะ ประกอบไปด้วยเพลง (ทา) ที่มีเนื้อร้องแตกต่างกันไป เพลงแต่ละเพลงจะนำไป ใช้ร้องตามโอกาสที่เหมาะสม เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมและดนตรีชาวกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นมรดกที่ถูกสืบทอดต่อกันมาช้านาน จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม และความภาคภูมิใจในความเป็นชาติพันธุ์ของชาวกะเหรี่ยงน้ำตก

 

คำสำคัญ: ชาวกะเหรี่ยงน้ำตก,ดนตรีชาวกะเหรี่ยงน้ำตก,วัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงน้ำตก

 


Downloads

How to Cite

ไทพาณิชย์ ช., อินทรสุนานนท์ ก., & อินทรสุนานนท์ ก. (2014). Karen Namtok at Music Khlonglanpattana Sub-district Khlonglan District Kamphaengphet Province. Journal of Behavioral Science for Development, 6(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/16002