The Development of A Thinking Teaching Model for Enhancing Goal Motivation to Success of Rajabhat University Undergraduate Students

Authors

  • สิริพร ดาวัน นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาจิตวิทยา กลุ่มจิตวิทยาการเรียนรู้และการสอน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ ศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Abstract

การพัฒนารูปแบบการสอนคิดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จ  ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ

The  purposes  of this  research  was  to develop  of  a  thinking  teaching  model for enhancing goal motivation to success of Rajabhat University undergraduate students The sample of the study included 2 groups. The first group of goal motivation to success study consisted of 741 Rajabhat  University undergraduate students in the middle east. The second group consisted of 45 Thepsatri  Rajabhat  University undergraduate students. They were randomly selected from the students whose goal motivation to success scores were lower than twenty-fifth percentile. They were then randomly assigned into two groups. Each group consisted of 20 students. The experimental group participated in the thinking teaching model while the control group did not receive any thinking teaching  model.The research  results  were  as  follows : 1) The total mean score of the goal motivation of  the 741 students of the Rajabhat  University  was  very  high  while  the  mean  scores  of  the  dimensions  of  the  work commitment, the self efficacy, and the job satisfaction were very high. Besides, the mean scores of the dimensions of self-regulation ability, self-plan ability, and the goal specificity were high.2) The thinking teaching model for enhancing goal motivation to success of  Thepsatri Rajabhat University undergraduate students was developed by using the student centered concept and the concepts of 3 types of thinking : analytical thinking, critical thinking, and future orientation thinking. The goal motivation to success of Thepsatri Rajabhat University undergraduate students after participating in the thinking teaching model and after the follow-up were significantly higher than before the experiment at the .01 level.  Beside, the goal motivation to success of the experimental group after participating in the thinking teaching model and after the follow-up were significantly higher than that of the control group at the  .01  level. 3) The evaluation of the satisfaction of the experimental group toward the thinking teaching model through focus group revealed very high.

Keywords: A thinking teaching model, goal motivation to success

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคิดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฎ เขตภาคกลางตะวันออก  จำนวน 741 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากประชากรและเป็นกลุ่มที่ใช้ในการศึกษาแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จ  กลุ่มที่ 2  เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย ราชภัฏเทพสตรี ที่มีคะแนนแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จ  ตั้งแต่เปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมา จำนวน 45 คน ที่ได้มาจากสุ่มอย่างง่ายจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 และสุ่มเข้ากลุ่มจำนวน 40 คน แล้วสุ่มอีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน  กลุ่มทดลองได้รับการใช้รูปแบบการสอนคิดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่รับการใช้รูปแบบการสอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1)  แรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตภาคกลางตะวันออก  จำนวน 741  คน  มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 116.74  ค่าเฉลี่ยแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จรายด้าน ได้แก่ ด้านความผูกพันในงาน  ด้านการรับรู้ความสามารถแห่งตน และด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน อยู่ระหว่าง 17.39-20.68 ส่วนด้านความสามารถในการกำกับตนเอง  ด้านความสามารถในการวางแผน  และด้านการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน อยู่ระหว่าง 19.25-19.46 2) รูปแบบการสอนคิดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จ  ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี  เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากแนวคิดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการคิด  3  ลักษณะได้แก่  1) การคิดวิเคราะห์  2) การคิดวิจารณญาณ  และ 3) การคิดมุ่งอนาคตแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จของนักศึกษากลุ่มทดลอง ภายหลังได้รับการใช้รูปแบบการสอนคิด  เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จ  และภายหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   และแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จของนักศึกษากลุ่มทดลอง ภายหลังได้รับการใช้รูปแบบการสอนคิดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จ และภายหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการใช้รูปแบบการสอนใดๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มทดลอง  ที่มีต่อรูปแบบการสอนคิดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จ โดยใช้การสนทนากลุ่มเฉพาะ พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจรูปแบบการสอนคิดดังกล่าวมาก

 

คำสำคัญ: รูปแบบการสอนคิด, แรงจูงใจเป้าหมายสู่ความสำเร็จ, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏ


Downloads

How to Cite

ดาวัน ส., มาลากุล ณ อยุธยา ป., & เกิดพิทักษ์ ผ. (2014). The Development of A Thinking Teaching Model for Enhancing Goal Motivation to Success of Rajabhat University Undergraduate Students. Journal of Behavioral Science for Development, 6(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/15960