การพัฒนาระบบบริหารจัดการวัดพม่าจังหวัดลำปางสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบบริหารจัดการ , การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน , การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, วัดพม่าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปางบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบบริหารจัดการวัดพม่าจังหวัดลำปางสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชุมชนบริเวณวัดพม่าในเขตอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง 2) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการวัดพม่า สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพประชากรของวิจัย แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม จากกลุ่มบุคคลที่มีสำคัญทางด้านศาสนสถาน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน ด้วยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน ดังนี้ 1) การศึกษาความต้องการและศักยภาพของชุมชน 2) การค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลจากการทำ SWOT Matrix เพื่อกำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยว 3) การถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติ และ 4) การปฏิบัติการท่องเที่ยวโดยชุมชนจริง ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อประเมินความพึงพอใจระบบการบริหารการจัดการการทองเที่ยวของชุมชน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling)
จากการศึกษาพบว่า ชุมชนบริเวณวัดพม่าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีความพร้อมความต้องการ และมีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยว การกำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเจ้าของจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน โดยคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม และผลจากการสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบริเวณวัดพม่าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปางอยู่ในระดับมาก ( = 4.29 , S.D. = 0.63) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไป หาน้อย คือด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 4.38, S.D. = 0.65) รองลงมาได้แก่ ด้านองค์กรชุมชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 4.32, S.D. = 0.71) ด้านการจัดการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 4.26, S.D. = 0.67) และด้านการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (
= 4.20, S.D. = 0.75) ตามลำดับ หลังจากนั้นจึงนำเสนอชุมชน
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน.กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิราภรณ์ แก้วมณี. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านหัวเขาจีน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธนัชชา ฤทธิ์เดช. (2558). แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(2), 18-33.
นิมิต ซุ้นสั้น สัญญา ฉิมพิมล พิมลรัตน์ ภูขียว สุภัทรา สังข์ทอง ประภาศรี อึ่งกุล ยุทธชัย ฮารีบิน สิรินทรา สังข์ทอง และพิมพิกา พูลสวัสดิ์. (2564). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนทุ่งมะพร้าว จังหวัดพังงา, วารสารศิลปศาสตร์ และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 326-340.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. นนทบุรี : บริษัท เพรส แอนด์ดีไซน์จำกัด.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน.กรุงเทพฯ :โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
พจนา สวนศรี, และสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ, สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.
พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). การประเมินศักยภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ : นครศรีธรรมราช.
วรรณวิมล ภู่นาค. (2558). ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(1), 63-74.
สุวิมล บัวทอง และปิยะนุช พรประสิทธิ์. (2567). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนอย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาชุมชนเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา.
วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 66-94.
อัจฉรา ศรีลาชัย. (2559). แนวทางการจัดการรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนบ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อิทธิพล โกมิล. (2553). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ : กรณีศึกษาบ้านวังน้ำมอก อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกระทรวงวัฒนธรรม.
Binkhorst, E. (2006). The Co–Creation Tourism Experience (On–line). http://www. esade. edu/cedit2006/pdfs2006/papers/esther_binkhorst_paper_esade_may_06.pdf
Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. In Wurzburger, R. (Ed.). Creative Tourism A Global Conversation how to provide unique creative experiences for travelers worldwide: at present at the 2008 Santa Fe & UNESCO International Conference on Creative Tourism in Santa Fe. (pp. 78–90). New Mexico.USA.
Tourism Canada. (1990). An Action Strategy for Sustainable Tourism Development: Globe’90. Ottawa: Tourism Canada.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร