แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง ชุมชนกะบกเตี้ย อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน , การท่องเที่ยวโดยชุมชน, การพัฒนาการท่องเที่ยว, อ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาทบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนา การท่องเที่ยวชุมชนในการพัฒนาพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง ชุมชนกะบกเตี้ย อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชน ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง ชุมชนกะบกเตี้ย อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งมีประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนสำคัญ ในการพัฒนาการท่องเที่ยวในตำบลกะบกเตี้ย ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจในอ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง และกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนกะบกเตี้ย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนในการพัฒนาพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยหนองโรง ชุมชนกะบกเตี้ย อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท การมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ มีระดับมากที่สุด ( x ̅= 4.37, S.D. = 0.61) รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ ( x ̅= 4.31, S.D. = 0.68) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( x ̅= 4.26, S.D.= 0.63) และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( x ̅= 4.26, S.D.= 0.72) ตามลำดับ และ 2) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมโดยชุมชน พบว่า ชุมชนกะบกเตี้ยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมกันพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวทะเลชัยนาท พัฒนาขึ้นมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในส่วนของการปฏิบัติการ ชาวบ้านชุมชนกะบกเตี้ย ร่วมกันเข้าไปเปิดกิจการค้าขายอาหาร และบริการเครื่องเล่นให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินเข้ามาท่องเที่ยว ในส่วนของผลประโยชน์นั้น ผู้ประกอบการร้านค้าได้รับผลประโยชน์เป็นกำไรจากการค้าขายสินค้าและบริการ เครื่องเล่นให้กับนักท่องเที่ยว และในส่วนของการประเมินผลทาง อบต. กะบกเตี้ยได้ทำการจัดการประชุม ติดตามผลประจำทุกปี
References
กษมา เตรียมพิทักษ์. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ฐิฐิตาภา บำรุงศิลป์, รัตนะ ทิพย์สมบัติ, ขัติยาภรณ์ มณีชัย, ชญานี วีระมน, ทิวาทิพย์ บาศรี, อนงค์นาฏ โอมประพันธ์, กชนิภา จันทร์เทศ, รัชนีกร งีสันเทียะ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านวังรี จังหวัดนครนายก. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 3(3) : 1-14.
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม, ดลฤทัย เจียรกุล, อิสระพงษ์ พลธานี, ณภัทร สำราญราษฎร์, ปิยะพงษ์ เลาศรีรัตนชัย, พิชญา ร่มโพธิ์ภักดิ์, อภิญญา สุพิชญ์ และกฤษณ์ เลี้ยงพันธุ์. (2562). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในจังหวัดชัยนาท. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
ไปรยาพัสตร์ ศรีจริยา. (2563). การประเมินการมีส่วนร่วมด้านการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
นัฐพงศ์ วิชัยดิษฐ์ และ ผกามาศ ชัยรัตน์. (2563). ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (2020): กรกฎาคม - สิงหาคม 2563.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการทองเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2) : 25-46.
เสาวคนธ์ เหลืองทองคำ. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน: กรณีศึกษาอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 11(1) : 19-29.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2550). “ทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทย”. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทรัพยากร การท่องเที่ยวของไทย สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถาบันพระปกเกล้า. (2566). ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชน. http://wiki.kpi.ac.th/index. php?title=การมีส่วนร่วมของประชาชน
ศิริพร สิมโรง. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาเกาะกูด ตำบลเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่อนุญาตให้นำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นลายลักษณ์อักษร