พฤติกรรมการใช้ และทัศนคติ ที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมแอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ

ผู้แต่ง

  • วลัยลัคน์ ห่านทอง นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหภาพ พ่อค้าทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
  • ศิริพงศ์ เตียวพิพิธพร อาจารย์ประจำหลักสูตรการตลาดดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้, ทัศนคติ, การยอมรับนวัตกรรม, แอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการใช้ และ ทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมแอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณโดยดำเนินการเก็บข้อมูลในรูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ เพื่อวัดผลเพียงครั้งเดียว โดยศึกษากับประชากรเพศชายและเพศหญิง อายุ 20 ปีขึ้นไป ที่เคยใช้แอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ จำนวน 400 คน อยู่ในกลุ่มแพลตฟอร์มเฟสบุค โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา และการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าสถิติ Chi-Square F-test/One-Way ANOVA และ สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง รองลงมาคือ เพศชาย มีอายุระหว่าง 20-30 ปี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน การศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี รายต่อเดือนได้ 20,001-30,000 บาท เลือกใช้บริการร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และมีการยอมรับนวัตกรรมแอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อด้านความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด

          ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้มีการยอมรับนวัตกรรมแอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ แตกต่างกัน และทัศนคติต่อการใช้แอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมแอปพลิเคชันเดลิเวอรีของร้านสะดวกซื้อ

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.). (2566). ส่องพฤติกรรมผู้บริโภคและจับตากลยุทธ์ร้านสะดวกซื้อของจีน. https://www.iimedia.cn/c400/94677.html

ขวัญเรือน ไปแดน. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้แอปพลิเคชัน 7-Delivery ของร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นในเขตอําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (รัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง).

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2561). การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อ การตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันอาหาร (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ธนภูมิ สุริยมงคล. (2561). ประสบการณ์ของผู้บริโภค ทัศนคติ และความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมต่อการใช้บริการจัดส่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ธัญลักษณ์ เพชรประดับสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมธา สายสุวรรณ. (2560). แนวทางการจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวแบบวันเดียว (One Day Trip) ของนักนักท่องเที่ยวอิสระชาวจีนในเมืองพัทยา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สุวีริยาส์น.

ศศิธร บุญเลิศ. (2566). พฤติกรรมการซื้อ ภาพลักษณ์ตราสินค้า ความคาดหวัง และการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ภูมิพฤกษาของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์และวาย. วารสารบัญชีปริทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(1), หน้า 12-30.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). Food Delivery ปี 2565 ขยายตัวต่อเนื่อง ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่นรุกพื้นที่ต่างจังหวัดขยายฐานลูกค้าใหม่. https://www.kasikornresearch.com

Delivery. (2559). Delivery ดิลิฟเวอร์ลี่คืออะไร (ออนไลน์). https://www.mindphp.com

Ho, C. H. & Wu, W. (2011). Role of innovativeness of consumer in relationship between perceived attributes of new products and intention to adopt. International Journal of Electronic Business Management, 9(3), 258.

Kendler, Howard H. (1963). The concept of the concept: categories of human learning. New York: Acadamic Press.

Krech & Crutchfield. (1948). The field and problems of social psychology. New York: McGraw-Hill.

Popticles.com. (2563). รวมสถิติการใช้เทคโนโลยีของคนแต่ละGeneration. https://www. popticles.com /insight/technology-usage-for-each-generation/

Rogers. (1978). Demometrics of migration and settlement. in Batey, P W J (Eds.), London Papers in Regional Science8.Theory and Method in Urban and Regional Analysis Ed., (pp. 208-209), London: Pion.

, E.M. (1983). Diffusion of innovation. A Division of Macmillan Publishing Co., Inc. New York.

, (1983). Diffusion of innovation. A Division of Macmillan Publishing Co., Inc. New York.

Schiffman, L. G., and K, Lazar. L. (2007). Consumer behavior. (5th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-09-2024